การทำธุรกรรมทางการเงินผ่าน Mobile Bangking เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะพ่อค้าและแม่ค้าออนไลน์ที่ต้องเจอลูกค้าซื้อสินค้าพร้อมส่งสลิปการโอนเงินเข้ามาแบบรัว ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดการตกหล่นและไม่ได้มีการตรวจสลิปโอนเงินให้ถี่ถ้วน สุดท้ายแล้วอาจพบกับสลิปโอนเงินปลอมจากเหล่ามิจฉาชีพก็เป็นได้ หากวันใดวันหนึ่งคุณต้องเจอกับเหตุการณ์สลิปปลอมด้วยตัวเอง ควรจะทำอย่างไรต่อดี เรื่องนี้สามารถแจ้งความได้หรือไม่ และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง บทความนี้ได้รวบรวมทุกข้อสงสัยไว้ให้คุณแล้ว
ทำความรู้จักกับสลิปปลอม
สลิปปลอม หรือสลิปการโอนเงินปลอม เป็นสิ่งที่มิจฉาชีพสร้างหรือปลอมแปลงขึ้นมาเพื่อใช้โกงกับพ่อค้า แม่ค้า และการซื้อสินค้าออนไลน์ โดยจะทำการส่งสลิปโอนเงินปลอมให้กับทางร้านค้า เพื่อให้ร้านค้าจัดส่งสินค้าให้ แต่ในความจริงแล้วยังไม่ได้มีการชำระเงินใด ๆ ซึ่งในสลิปปลอมจะระบุจำนวนเงิน ชื่อผู้ส่ง และผู้รับ ที่มีความเหมือนกับสลิปของจริง ส่งผลทำให้พ่อค้าและแม่ค้าเกิดความเสียหายและขาดทุนกันเป็นจำนวนมาก
เจอสลิปปลอมแจ้งความได้ไหม ควรทำอย่างไรต่อ?
ในกรณีที่พ่อค้าและแม่ค้าได้ทำการตรวจสอบสลิปโอนเงินจากลูกค้าแล้วพบว่าเป็นสลิปปลอม ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความผิดทางกฎหมายและสามารถแจ้งความเพื่อดำเนินคดีได้ แต่ถ้าหากพ่อค้าและแม่ค้าไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ มิจฉาชีพก็จะไปทำแบบนี้กับร้านค้าอื่น ๆ ต่อไปที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อไปอย่างเป็นวงกว้าง โดยขั้นตอนการดำเนินคดีเมื่อเจอสลิปปลอม ได้แก่
1.รวบรวมหลักฐาน
พ่อค้าและแม่ค้าควรรวบรวมหลักฐานทุกอย่างให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นแชท ข้อความเสียง หรือรูปภาพ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดี ซึ่งเอกสารทั้งหมดที่นำมาจะต้องมีรายละเอียดที่บ่งบอกได้ว่าเราคือผู้เสียหายจริง ๆ รวมทั้งยังต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น เช่น หลักฐานการจัดส่งสินค้าให้มิจฉาชีพ เพื่อยืนยันว่าเราเป็นผู้เสียหาย
2.แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เมื่อรวบรวมหลักฐานที่บ่งบอกว่าเราคือผู้เสียหายได้ครบถ้วนแล้ว ต่อไปคือการเดินทางไปยังสถานีตำรวจเพื่อเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ และหลังจากนี้ผู้เสียหายไม่ควรปล่อยเรื่องให้เงียบลง ควรที่จะติดตามคดีอย่างต่อเนื่อง หากไม่ต้องการที่จะจ้างทนาย การตามหาทนายอาสาก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ส่งเรื่องฟ้องร้อง และพิจารณาโทษ
หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมกับพิจารณาว่าเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายมาตราใด เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะส่งเรื่องฟ้องร้อง สุดท้ายแล้วก็ต้องมีการไปขึ้นศาลและรอคำสั่งจากศาลว่าต้องจำคุกกี่ปี ปรับเงินกี่บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่เรื่องไม่จบที่ศาลก็อาจจะมีการยอมความกันได้ และมีขั้นตอนการไกล่เกลี่ยตามมา ซึ่งจุดสำคัญในขั้นตอนของการฟ้องร้อง ควรมีหลักฐานที่มากเพียงพอ โดยเฉพาะข้อมูลของฝั่งมิจฉาชีพ เพราะหากไม่มีข้อมูลที่มากพอก็อาจจะตามสืบและเอาผิดได้ยากเช่นกัน
ความผิดทางกฎหมายของสลิปปลอม
หลังจากที่ได้รู้กันไปแล้วว่าสลิปปลอมเป็นเรื่องที่สามารถแจ้งความเพื่อดำเนินคดีได้ รวมทั้งยังมีขั้นตอนต่าง ๆ ที่สามารถดำเนินการเพื่อเอาผิดกับเหล่ามิจฉาชีพที่ปลอมแปลงสลิปปลอมขึ้นมาเพื่อหลอกลวงพ่อค้าและแม่ค้า รวมทั้งการใช้สลิปโอนเงินปลอมยังมีความผิดตามบทบัญญัติของกฎหมาย โดยการปลอมสลิปโทษและปลอมสลิปโอนเงินโทษมี ดังนี้
1.ความผิดฐานฉ้อโกง
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงความเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.ความผิดฐานกระทำและใช้เอกสารปลอม
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/1 ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้ทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง หรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาท ถึง 100,000 บาท
3.ความผิดฐานนำเข้าข้อมูลเท็จตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
สลิปปลอมแจ้งความภายในกี่วัน และยอมความได้ไหม
สำหรับคำถามเมื่อถูกปลอมแปลงสลิปโอนเงินจะแจ้งความสลิปปลอมภายในกี่วัน เนื่องจากการปลอมแปลงสลิปปลอมเป็นความผิดฐานฉ้อโกงจึงต้องรีบแจ้งความภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่รู้ว่าได้สลิปปลอม หรือรู้ตัวของมิจฉาชีพ และการปลอมแปลงสลิปเป็นความผิดต่อส่วนตัวที่สามารถยอมความกันได้ ถึงแม้ว่าผู้กระทำผิดจะได้ชดใช้เงินคืนให้กับผู้เสียหายไปทั้งหมดหรือแค่บางส่วนก็ตาม
วิธีสังเกตสลิปปลอม
- ความคมชัดของตัวหนังสือบนสลิป ให้สังเกตที่ตัวอักษรและตัวเลขบนสลิป ทั้งชื่อ นามสกุล จำนวนเงิน วันที่ และเวลาโอน ซึ่งจะต้องมีความชัด ความหนาเท่ากัน และใช้ฟอนต์เดียวกันทั้งหมด
- สแกน QR Code โดยเปิดผ่านแอปพลิเคชันธนาคารที่ร้านค้าได้สมัครการทำธุรกรรมออนไลน์เอาไว้ เมื่อสแกนแล้วจะสามารถเช็กได้จากชื่อผู้โอน วันที่ เวลา และจำนวนเงิน เพื่อให้รู้ว่าตรงกับยอดเงินที่ตกลงเอาไว้หรือไม่
- ตรวจสอบยอดเงินในบัญชี เป็นวิธีง่าย ๆ ที่สามารถตรวจสอบยอดเงินโอนเข้าจากแอปพลิเคชันธนาคาร แต่วิธีนี้อาจจะไม่เหมาะกับร้านค้าที่มียอดขายเยอะหรือหลายสาขา
สรุปบทความถูกปลอมสลิปการโอนเงิน แจ้งความได้ไหม
สุดท้ายนี้ เรื่องของการทำธุรกรรมออนไลน์ที่มีข้อดีในเรื่องของความสะดวกสบาย แต่ผู้ใช้งานทุกคนก็ควรที่จะระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพราะวันหนึ่งเราอาจหลงกลและกลายเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ หากตกเป็นเหยื่อเมื่อไหร่ให้รีบรวบรวมหลักฐานเพื่อไปแจ้งความดำเนินคดี และหมั่นสังเกตสลิปปลอมและวิธีป้องกันต่าง ๆ เพื่อทำธุรกรรมการเงินทางออนไลน์ได้อย่างมั่นใจ และที่สำคัญอย่าลืมเลือกใช้บริการตรวจสอบสลิปโอนเงินปลอมจาก Thunder Solution ที่มีความแม่นยำสูง 100% เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการตรวจสอบ และเพิ่มความอุ่นใจให้ผู้ประกอบการมั่นใจได้ว่าธุรกิจของคุณจะปลอดภัยและไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพอย่างแน่นอน
บทความที่เกี่ยวข้อง
รวมวิธีการจดทะเบียน Vat สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่
ผู้ประกอบการมือใหม่ฟังทางนี้ มาดูขั้นตอนการจดทะเบียน Vat และบอกรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องรู้ การจดภาษีมูลค่าเพิ่มใช้เอกสารอะไรบ้าง คุณสามารถหาคำตอบได้ที่นี่Read more
เรียนรู้เรื่องภาษีผู้ประกอบการ ต้องจ่ายภาษีอะไรบ้าง
เปิดคัมภีร์ผู้ประกอบการ 101 ภาษีผู้ประกอบการที่ต้องจ่าย มีอะไรบ้าง แนะนำคู่มือภาษีที่ทุกควรรู้ พร้อมแนวทางการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ประกอบการทุกคนRead more
เปิด 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ เพื่อเป็นนายตัวเอง
อยากเป็นเจ้านายตัวเอง (Self Employee) ทำไงดี? รวม 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ สำหรับคนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เหมาะมากสำหรับนักลงทุนมือใหม่Read more