ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า ในปัจจุบันมีกลุ่มมิจฉาชีพพยายามเข้าถึงระบบและข้อมูลสำคัญ หนึ่งในข้อมูลสำคัญที่มิจฉาชีพเหล่านี้ให้ความสนใจคือ การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว หรือการหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัวของเรา เพื่อนำไปใช้งานแทนเจ้าของข้อมูล เพื่อนำไปใช้ประกอบยืนยันตัวตนสวมรอยเป็นเรา เข้าไปโจรกรรมสร้างความเสียหายให้กับเจ้าของข้อมูลได้ ธันเดอร์บอกต่อ 5 วิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัว รั่วไหล ป้องกันภัยจากมิจ(ฉาชีพ) ว่ามีอะไร วิธีแก้ไขปัญหาเมื่อตกเป็นเหยื่อ ทำอย่างไรได้บ้าง บ้าง
วิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัว ไม่ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์
หากคุณไม่ได้ใช้มาตรการป้องกันที่เหมาะสมในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล คุณอาจเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์ขโมยข้อมูลประจำตัว หรือฉ้อโกงบัตรเครดิต
โชคดีที่มีวิธีง่ายๆ ที่คุณสามารถออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย Panda Dome มีระบบป้องกันสำหรับทุกไลฟ์สไตล์ ดังนั้นคุณจึงสามารถท่องเว็บได้โดยไม่ต้องกังวล
5 วิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล ป้องกันภัยจากมิจฉาชีพ
1. อย่าคลิกลิงก์ เว็บไซต์ที่ไม่คุ้นเคย
กฎเหล็กของการใช้อินเทอร์เน็ตคือห้ามคลิกลิงก์หรือไฟล์แนบ นอกจากคุณจะรู้ว่าลิงก์นั้นมาจากใคร แฮกเกอร์จำนวนมากจะส่งลิงก์หรือไฟล์แนบพร้อมข้อความที่เกี่ยวข้องเพื่อหลอกให้คุณคลิก โดยทั่วไปลิงก์หรือไฟล์แนบเหล่านี้จะซ่อนมัลแวร์ที่สามารถขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เข้าถึงรหัสผ่าน หรือสอดแนมพฤติกรรมของคุณ เรื่องราวทั่วไปที่แฮกเกอร์มักจะใช้ได้แก่
- มีหมายจับเป็นชื่อของคุณ
- คุณถูกแฮกหรือสอดแนมแล้ว
- มีปัญหาการส่งไปรษณีย์
- มีคนปิดการใช้งานบัญชีของคุณ
- ข้อมูลธนาคารของคุณถูกขโมย
เมื่อคลิกไปแล้ว ก็อาจทำให้ถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ ได้ ธันเดอร์ แนะนำให้ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ ช่วยสแกนให้ได้ว่าลิงก์นั้นปลอดภัยหรือไม่ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการถูกขโมยข้อมูลได้
2. ปิดบลทูธไว้ ถ้าไม่ได้ใช้งาน
ถ้าเราเปิดบลูทูธทิ้งไว้ ก็อาจจะเสี่ยงต่อการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ไม่รู้จักทำให้ข้อมูลภายในโทรศัพท์ของเรารั่วไหลได้
3.ตั้งรหัสผ่านให้ยากไว้ก่อน
ไม่ใช้รหัสซ้ำกับแอปอื่น ๆ เพราะยิ่งรหัสผ่านซ้ำ โอกาสที่จะโดนแฮ็กข้อมูลก็ยิ่งเป็นไปได้ง่าย การใช้รหัสผ่านเดิมซ้ำๆ เพื่อความสะดวกขอบคุณ แต่นั่นหมายความว่าหากมีคนถอดรหัสรหัสได้ พวกเขาจะสามารถเข้าถึงบัญชีที่สำคัญทั้งหมดของคุณได้ ถ้าเป็นไปได้ควรตั้งรหัสผ่านของคุณต่างกัน ใช้ตัวเลข ตัวอักษร การใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ และอักขระพิเศษที่หลากหลาย
4.เปิดใช้ระบบพิสูจน์ตัวตน 2 ชั้น ป้องกันการแฮ็ก
การตรวจสอบสิทธิ์แบบสองปัจจัย (2FA) จะตรวจสอบความพยายามในการเข้าสู่ระบบแต่ละครั้งเพื่อบล็อกการเข้าสู่ระบบจากบุคคลที่อาจขโมยรหัสผ่านบัญชี โดยจะมีการส่งชุดรหัสยืนยันให้เจ้าของบัญชียืนยันตัวตนเพิ่มเติม เช่น ข้อความหรืออีเมลพร้อมรหัสที่ไม่ซ้ำกันทุกครั้งที่ต้องเข้าสู่ระบบ ในการเข้าถึงบัญชี คุณต้องมีชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และ เข้าถึงรหัสแบบครั้งเดียว
ถ้ามีการเข้าสู่ระบบอย่างไม่ถูกต้องก็จะมีข้อความแจ้งเตือนไปที่บัญชีของเรา เพียงแค่นี้ก็จะทำให้เรารู้ว่ากำลังมีคนพยายามแฮ็กข้อมูลเราอยู่นั่นเอง
5.ลบประวัติการเข้าชมเว็บไซต์อย่างบ่อย ๆ
วิธีนี้นี้จะช่วยลดจำนวนการถูกติดตามในโลกออนไลน์ ที่ทำให้เสี่ยงต่อการโดนฉกฉวยข้อมูลไป เพราะประวัติการเข้าชม จะเป็นตัวบันทึกเหตุการณ์ และการกระทำต่าง ๆ ของเราบนโลกออนไลน์
ต้องทำอย่างไรเมื่อตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ
เมื่อรู้ตัวว่ากำลังโดนหลอกลวงให้ตั้งสติ และหยุดการติดต่อกับมิจฉาชีพทันที
แจ้งธนาคารที่ใช้บริการทันที ผ่านช่องทาง Hotline คอลเซ็นเตอร์ที่เปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง หรือติดต่อสาขาธนาคาร ภายในเวลาทำการ เพื่อทำการระงับธุรกรรม หรือบัญชีชั่วคราวของผู้เสียหาย และบัญชีปลายทาง
แจ้งความอย่างรวดเร็วภายในเวลา 72 ชั่วโมง ผ่านทาง www.thaipoliceonline.com ตลอด 24 ชั่วโมง หรือไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ
สัญญาณเตือนของแฮกเกอร์
สิ่งสำคัญคือต้องทราบสัญญาณทั่วไปของการถูกแฮก เพื่อให้คุณสามารถดำเนินการโดยเร็วที่สุด
- การใช้งานอินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์เพิ่มขึ้นสูงมาก
- ความเร็วการทำงานของอุปกรณ์ช้าลง
- แบตเตอรี่หมดอย่างรวดเร็วโดยไม่มีคำอธิบาย
- คุณได้รับคำขอเปลี่ยนรหัสผ่านโดยไม่ได้รับอนุญาต
- ซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นใหม่จะถูกดาวน์โหลดโดยอัตโนมัติ
สรุป
สุดท้ายแล้ว ต้องมีสติในการทำธุรกรรมการเงินทุกครั้ง รวมถึงพ่อค้า แม่ค้า ร้านค้า ร้านอาหารต่างๆที่รับเงินผ่านธุรกรรมการโอนเงินต่างๆ ด้วยแล้ว เพราะถ้าหากไม่ระแวดระวัง อาจหลงกล ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นทั้งจากสลิปโอนเงินปลอมต่างๆ รวมถึงให้ระมัดระวังในการให้ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ให้รหัส OTP ในการทำธุรกรรมการเงินกับใคร ระมัดระวังการคลิกลิงก์ โดยเฉพาะถ้าหากแจ้งว่ามาจากธนาคารให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่าเป็นมิจฉาชีพเพราะธนาคารไม่มีนโยบายส่งลิงก์ให้กับลูกค้า รวมถึงให้ระมัดระวังในการติดตั้งแอปต่าง ๆ โดยควรเลือกดาวน์โหลดจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น สิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นเกราะป้องกันภัยเบื้องต้น ไม่ให้หลงตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพต่าง ๆ ได้โดยง่าย
Thunder Solution ช่วยแก้เกมกลโกง โดยเฉพาะร้านค้า ร้านขายของ ให้คุณรู้ตัวก่อนเงินหาย จากภัยสลิปปลอม ให้รู้ทันมิจฉาชีพ ปลอดภัยกับร้านค้าของคุณได้มากกว่าด้วย “บริการตรวจสอบสลิปโอนเงินอัตโนมัติ” จาก ธันเดอร์ ทดลองใช้ฟรี นาน 7 วัน ใช้งานได้สูงสุด 120 สลิป เพียงสมัครสมาชิก เพื่อใช้งาน ที่หน้าเว็บไซต์ www.thunder.in.th
บทความที่เกี่ยวข้อง
7 วิธีการตรวจสอบสลิปปลอม เพื่อป้องกันการโดนโกงจากมิจฉาชีพ
ง่ายสุดๆ วิธีการตรวจสอบสลิปปลอม เพื่อป้องกันการโดนโกงจากมิจฉาชีพ แนะนำระบบตรวจสลิปปลอมผ่านไลน์จาก Thunder Solution ที่สะดวก รวดเร็วRead more
การใช้ AI ตรวจสลิปปลอม เพิ่มความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
เรียนรู้ การใช้ AI ตรวจสลิปปลอม เพิ่มความปลอดภัย ลดข้อผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ รวมถึงวิธีการทำงานและข้อดี โดยใช้ AI ตรวจสลิปปลอมRead more
ระบบตรวจสอบสลิปอัตโนมัติ ตัวอย่างวิธีการทำงานและการใช้งาน
การใช้งาน ระบบตรวจสอบสลิปอัตโนมัติ มีวิธีการทำงานและการใช้งานอย่างไรบ้าง รูปแบบของ ระบบตรวจสอบสลิปอัตโนมัติ มีอะไรบ้าง ที่นี่มีคำตอบRead more