ในปัจจุบัน เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ทำให้การขายของออนไลน์ผ่าน Social Media เป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคนี้ที่ Tiktok มาแรง แต่การทำธุรกิจออนไลน์มีทั้งโอกาสและความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของกฎหมายที่ผู้ประกอบการจะต้องทำตาม เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายและโทษปรับ เราจะมาเจาะลึกถึงกฎหมายขายของออนไลน์ที่ผู้ประกอบการควรรู้ รวมถึงโทษปรับที่อาจเกิดขึ้นได้
ขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ไหม
ขายของออนไลน์ ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ไหม? แน่นอน ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าออนไลน์ต้องจดทะเบียนขายของออนไลน์ หรือจดทะเบียนพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการค้าพาณิชย์ เพื่อดำเนินธุรกิจได้ถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ และทำให้ลูกค้ามั่นใจในการซื้อสินค้ามากขึ้น
จดทะเบียนขายของออนไลน์ ต้องทำอย่างไร
ก่อนทำการจดทะเบียนขายของออนไลน์ ผู้ประกอบการควรเตรียมเอกสารที่จำเป็น เช่น บัตรประชาชนหรือเอกสารแสดงตัวตนของผู้ประกอบการ, ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ เช่น ชื่อร้านค้า ประเภทสินค้า และสถานที่ตั้ง นอกจากนี้ยังอาจต้องมีเอกสารเพิ่มเติมตามที่หน่วยงานกำหนด รวมถึงเลือกช่องทางการจดทะเบียน ผ่านสำนักงานพาณิชย์จังหวัดหรือเขต หรือจดทะเบียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จากนั้นเราสามารถชำระค่าธรรมเนียม และรอการอนุมัติการจดทะเบียนได้เลย
ขายของไม่แจ้งราคา ผิดกฎหมายไหม
รู้ไหม? ขายของไม่แจ้งราคา ถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 การขายสินค้าหรือบริการโดยไม่แสดงราคาอย่างชัดเจนถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งร้านค้าจะต้องระบุราคาสินค้าให้ชัดเจนในทุกช่องทางการขาย เช่น เว็บไซต์, Facebook, หรือ Instagram หากไม่ทำเช่นนั้นอาจถูกลงโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท ร้านค้าหรือแบรนด์จึงควรระบุราคาให้จัดเจน งดแจ้งผ่าน Inbox
5 กฎหมายขายของออนไลน์ที่ต้องรู้เพิ่ม
มาทำความรู้จักกับ 5 กฎหมายขายของออนไลน์ที่ต้องรู้ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบได้อย่างถูกต้อง และสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าออนไลน์ของตัวเอง โดยไม่ต้องกังวลว่าจะถูกปรับย้อนหลังหรือถูกดำเนินคดีในอนาคตได้
1. โฆษณาเกินจริงให้กับผู้บริโภค
พระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นกฎหมายขายของออนไลน์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของผู้บริโภค ห้ามโฆษณาที่เป็นเท็จหรือทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับสินค้า เพราะถ้าหากมีการโฆษณาเกินจริง อาจถูกลงโทษตามกฎหมาย หรือถูกสั่งปรับได้ โดยเฉพาะสินค้าและบริการด้านความงาม
2. ขายของละเมิดลิขสิทธิ์
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ เป็นกฎหมายขายของออนไลน์ที่คุ้มครองสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ในการผลิตและจำหน่ายผลงาน เช่น หนังสือ เพลง ภาพยนตร์ และซอฟต์แวร์ หากผู้ประกอบการขายสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น สินค้าปลอม หรือสินค้าที่ใช้ภาพหรือเนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต จะถูกลงโทษตามกฎหมาย ซึ่งอาจรวมถึงการปรับและการฟ้องร้องทางแพ่ง
3. จงใจตัดราคาหรือเพิ่มราคาเกินควร
รู้ไหม? การใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดเกี่ยวกับราคาสินค้า เช่น การโฆษณาว่าสินค้าราคาถูกแต่จริง ๆ แล้วมีค่าใช้จ่ายแอบแฝงหรือมีการปรับราคาเพิ่มในภายหลัง ถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งอาจนำไปสู่การฟ้องร้องและค่าปรับ รวมถึงผิดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
4. ขายอาหารออนไลน์โดยไม่มีใบอนุญาต
การขายอาหารออนไลน์ในประเทศไทยจำเป็นต้องมีใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือหน่วยงานท้องถิ่น เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารที่ขายมีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค การไม่มีใบอนุญาตในการขายอาหารอาจถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย รวมถึงมีการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของอาหารที่ขาย โดยควรปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรฐานด้านสุขอนามัย
5. เจตนาไม่ยื่นแบบแสดงรายได้
ตามกฎหมายภาษีอากร ผู้ประกอบการที่ขายของออนไลน์มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายได้และชำระภาษีตามที่กฎหมายกำหนด หากไม่ทำการแสดงรายได้หรือหลีกเลี่ยงการชำระภาษี อาจถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งอาจส่งผลให้ถูกลงโทษตามกฎหมายภาษี ถ้าหากผู้ประกอบการมีเจตนาไม่ยื่นแบบแสดงรายได้ อาจถูกลงโทษปรับตามที่กรมสรรพากรกำหนด โดยอาจมีโทษปรับสูงถึง 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับจาก 5 กฎหมายขายของออนไลน์ที่เราแนะนำไปเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าโทษและผลเสียที่ตามมานั้นไม่เบาเลย คุณจึงควรดำเนินธุรกิจภายใต้การควบคุมของกฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสมอ หรือลองใช้ระบบตรวจสอบสลิปโอนเงินจาก Thunder Solution เพื่อนำมาเป็นหลักฐานในการยื่นภาษี หรือใช้เป็นข้อมูลประกอบการจดทะเบียนออนไลน์ จะช่วยให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างถูกต้อง มั่นคง และไม่เสี่ยงต่อการถูกปรับหรือดำเนินกฎหมายย้อนหลังแน่นอน
แท็ก:
หมวดหมู่: บทความ
บทความที่เกี่ยวข้อง
รวมวิธีการจดทะเบียน Vat สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่
ผู้ประกอบการมือใหม่ฟังทางนี้ มาดูขั้นตอนการจดทะเบียน Vat และบอกรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องรู้ การจดภาษีมูลค่าเพิ่มใช้เอกสารอะไรบ้าง คุณสามารถหาคำตอบได้ที่นี่Read more
เรียนรู้เรื่องภาษีผู้ประกอบการ ต้องจ่ายภาษีอะไรบ้าง
เปิดคัมภีร์ผู้ประกอบการ 101 ภาษีผู้ประกอบการที่ต้องจ่าย มีอะไรบ้าง แนะนำคู่มือภาษีที่ทุกควรรู้ พร้อมแนวทางการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ประกอบการทุกคนRead more
เปิด 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ เพื่อเป็นนายตัวเอง
อยากเป็นเจ้านายตัวเอง (Self Employee) ทำไงดี? รวม 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ สำหรับคนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เหมาะมากสำหรับนักลงทุนมือใหม่Read more