เปิดกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้า ตั้งอย่างให้คนยอมซื้อ

เปิดกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้า ตั้งอย่างให้คนยอมซื้อ

เราเชื่อว่าเจ้าของกิจการหลายคน คงจะเคยประสบพบเจอกับปัญหาคิดไม่ตก อย่างเรื่องการตั้งราคาสินค้ากันมาไม่มากก็น้อย บางครั้งก็ไม่รู้ว่าสินค้าชิ้นนี้ควรที่จะขายในราคาเท่าไหร่ดี หรือบางครั้งอาจกังวลว่าราคาที่ตั้งจะแพงเกินไปไหม และเพื่อช่วยแก้ปัญหากวนใจเกี่ยวกับการตั้งราคา วันนี้เรามีกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้า ที่จะช่วยทำให้สินค้าของคุณขายออกง่าย ตั้งราคาอย่างไรให้ลูกค้าเห็นแล้วรู้สึกว่าน่าซื้อ รับรองว่าทั้งหมดนี้จะเป็นกลยุทธ์ที่สามารถนำไปใช้ได้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ทุกประเภท

กลยุทธ์การตั้งราคาสินค้าคืออะไร

ในการจะขายสินค้า หรือขายผลิตภัณฑ์อะไรสักชิ้น การตั้งราคาจะต้องคำนึงถึงต้นทุน กำไร และความคุ้มค่าในการขาย จริงอยู่ที่ว่าราคาในการขายนั้น สามารถตั้งขึ้นมาได้เองตามความต้องการของเจ้าของแบรนด์ หรือเจ้าของกิจการ แต่หากตั้งราคาที่สูงมากจนเกินไป ก็อาจทำให้สินค้า หรือผลิตภัณฑ์ขายไม่ออก และในทางกลับกัน หากตั้งราคาที่ต่ำเกินพอดี ก็อาจทำให้ได้กำไรไม่คุ้ม หรือหักลบแล้วขาดทุนในที่สุด ดังนั้นในการตั้งราคาสินค้า จะต้องเป็นราคาที่ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่าย และคุณได้กำไรอย่างเหมาะสมนั่นเอง

กลยุทธ์การตั้งราคาสินค้ามีอะไรบ้าง

สำหรับกลยุทธ์การตั้งราคาสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 7 ประเภท ดังนี้

1. Penetration Pricing

กลยุทธ์ที่ตั้งราคาแบบรุกตลาด หรือกลยุทธ์ที่มีการตั้งราคาของสินค้าให้ต่ำกว่าตลาดในช่วงแรก เพื่อเป็นการดึงดูดให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้มีการเปิดใจ ทดลองใช้สินค้าดูก่อน และจึงค่อยปรับมาเป็นราคาปกติในช่วงหลัง เมื่อสินค้าเริ่มติดตลาด โดยการตั้งราคาแบบรุกตลาด จะมี 3 เกณฑ์ด้วยกัน

  • สินค้าที่เพิ่งเข้าแข่งขันในตลาด (Penetration Product)
  • สินค้าที่มีต้นทุนในการเปลี่ยนต่ำ (Switching Cost)
  • สินค้าที่หามาทดแทนได้ง่าย (Substitute Goods)

2. Premium Pricing

สำหรับกลยุทธ์ Premium Pricing จะเป็นการตั้งราคาสินค้าให้สูงกว่าราคาตลาด เพื่อเป็นการสะท้อนภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ดูเป็นแบรนด์ที่มีความ Luxury เหมาะกับแบรนด์ที่อยากเจาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการโชว์ฐานะ ผ่านการเลือกใช้สินค้าที่มีราคาสูง โดยเกณฑ์การตั้งราคาให้ดูแพง และมี Value เบื้องต้น มีดังนี้

  • จะต้องเป็นแบรนด์ที่มีคู่แข่งทางการตลาดน้อย
  • สินค้าหรือผลิตภัณฑ์จะต้องมีความแตกต่าง หาสิ่งอื่นมาทดแทนได้ยาก
  • จะต้องเป็นสินค้าที่คู่แข่งไม่สามารถเข้าถึงได้ และไม่สามารถคัดลอกได้ง่าย
  • สินค้าของคุณต้องเป็นสินค้า ที่มีความต้องการในตลาดสูง

3. Skimming Price

มาต่อกันที่กลยุทธ์ Skimming Price ที่จะมีการตั้งราคาสินค้า หรือตั้งราคาของผลิตภัณฑ์ให้มีราคาสูงในช่วงแรก ก่อนจะค่อยปรับลดราคาให้เป็นราคาปกติในช่วงหลัง โดยกลยุทธ์นี้สามารถเรียกอีกอย่างได้ว่า “กลยุทธ์กวาดตลาด” เป็นกลยุทธ์ที่จะทำให้ได้กำไรดีในช่วงแรก เหมาะสำหรับสินค้าที่เป็นกระแส

4. Decoy Pricing 

กลยุทธ์การตั้งราคาแบบ Decoy Pricing เป็นกลยุทธ์การตั้งราคาแบบหลอกล่อ เป็นการตั้งราคาแบบที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคจะรู้สึกได้ถึงความประหยัด ยกตัวอย่างเช่น การตั้งราคาเมนูอาหารของร้านอาหารแห่งหนึ่ง ที่ตั้งราคาอาหารไว้ที่จานละ 119 บาท และน้ำแก้วละ 69 บาท แต่หากสั่งเป็นเซตที่มีน้ำเพิ่มมา จะเป็นราคา 149 บาท เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเลือกซื้อแบบเซตที่ดูคุ้มค่ากว่าการซื้อแยก 2 เมนู

5. Product Set Price

สำหรับกลยุทธ์นี้ จะเป็นการตั้งราคาแบบจับคู่สินค้า เพื่อกระตุ้นยอดขายให้มากขึ้นกว่าเดิม โดยอาจเป็นการคละสินค้าหลายประเภท ที่อาจจะใช้ได้ในโหมดเดียวกัน นำเอามาจับคู่เป็นเซต นอกจากจะทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงความคุ้มค่าแล้ว ทางฝั่งของผู้ประกอบการยังจะได้ล้างสต๊อก หรือลดปัญหาสินค้าที่ไม่เป็นที่นิยมได้ด้วย

6. Psychological Pricing

การตั้งราคาสินค้าด้วยกลยุทธ์ Psychological Pricing เป็นการตั้งราคาที่ใช้หลักจิตวิทยา ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าราคาที่ตั้งมานั้นน่าสนใจ เช่น การตั้งราคาสินค้าด้วยเลข 99 ลงท้าย โดยกลยุทธ์นี้จะเหมาะอย่างมาก กับสินค้าที่ต้องซื้อเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิเช่น สบู่, ผงซักฟอก, ยาสีฟัน หรือน้ำยาล้างจาน เป็นต้น

7. Seasonal Pricing

Seasonal Pricing เป็นกลยุทธ์ตั้งราคาตามช่วงเวลา หรือตั้งราคาในช่วงเทศกาล ให้มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีราคาถูกลงกว่าปกติ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกตัดสินใจซื้อง่ายมากขึ้น ซึ่งกลยุทธ์นี้สามารถที่จะนำเอามาใช้กระตุ้นยอดขาย และใช้กับสินค้าที่ค้างสต๊อกได้เช่นกัน

ตั้งราคาสินค้าอย่างไรให้น่าซื้อ

ลงท้ายด้วยเลข 9

อย่างที่เราได้มีการยกตัวอย่างไปใน กลยุทธ์ Psychological Pricing กับการตั้งราคาสินค้า ให้มีราคาลงท้ายด้วยเลข 9 ตามหลักจิตวิทยาแล้วการตั้งราคาในรูปแบบนี้ จะทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่าสินค้าชิ้นนั้นมีราคาไม่แพง ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเจอเสื้อในราคา 199 บาท กับเจอเสื้ออีกตัวที่ราคา 200 บาท คุณจะตัดสินใจซื้อเสื้อตัวที่ราคา 199 บาทได้ง่ายกว่า เพราะรู้สึกว่าถูกมากราคาไม่ถึง 200 บาทเลย ทั้งที่ในความจริงแล้วเสื้อทั้ง 2 ตัว มีราคาต่างกันเพียงบาทเดียวเท่านั้น

อ้างอิงราคาจากคู่แข่งในตลาดเดียวกัน

หากสินค้าของคุณเป็นสินค้าที่มีคู่แข่ง หรือมีสินค้าที่เป็นประเภทเดียวกันวางขายในตลาด คุณควรที่จะตั้งราคาโดยอิงจากราคาคู่แข่งเดียวกัน แนะนำว่าคุณไม่ควรตั้งราคาที่สูงกว่าแบรนด์คู่แข่ง และหากต้องการที่จะเปลี่ยนใจลูกค้า ให้หันมาเลือกซื้อสินค้าของคุณแทน คุณสามารถที่จะตั้งราคาต่ำกว่าแบรนด์คู่แข่งของคุณได้ แต่จะต้องคำนึงถึงความคุ้มค่า และความสมเหตุสมผลด้วยเช่นกัน

ตั้งราคาสูง แต่เสนอให้ถูกลงจากป้าย

สำหรับกลยุทธ์การตั้งราคาสุดท้าย ที่จะทำให้สินค้าของคุณน่าซื้อมากยิ่งขึ้น คือการตั้งราคาสูง แต่เสนอขายในราคาที่ถูกลงกว่าราคาป้าย อาจมีการใช้คำว่านาทีทอง เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจเร็วขึ้นกว่าเดิม ยกตัวอย่างเช่น การตั้งราคาขายรองเท้าไว้ที่คู่ละ 2,990 บาท แต่หากซื้อในช่วงนาทีทอง ลูกค้าจะได้ไปในราคา 1,990 บาท เป็นต้น โดยกลยุทธ์นี้ก็เป็นการใช้จิตวิทยาทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงความคุ้มค่าเช่นเดียวกัน

สรุปบทความ

หากคุณนำเอากลยุทธ์การตั้งราคาไปใช้กับสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ของคุณ และมียอดขายที่เพิ่มขึ้น อย่าลืมให้ความสำคัญกับโซลูชัน ตรวจสอบสลิปโอนเงิน ด้วย เพราะระบบตรวจสอบสลิปการโอนเงิน จะช่วยเพิ่มความสะดวกในการเช็กสลิป ช่วยให้คุณสามารถตรวจสอบสลิปได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ไม่ว่าในแต่ละวันคุณจะมียอดขายสูงมากเท่าไหร่ มีลูกค้าส่งสลิปมาเยอะแค่ไหน หรือมีแอดมินลูกจ้างเยอะแค่ไหนก็ตาม คุณสามารถมั่นใจได้เลยว่าร้านของคุณ จะไม่มีความเสี่ยงขาดทุนจากการเช็กสลิปผิดพลาดเกิดขึ้นแม้แต่ครั้งเดียว สำหรับเจ้าของกิจการ หรือสำหรับเจ้าของแบรนด์โซลูชันตรวจสอบสลิป ถือเป็นระบบหลังบ้านที่มีความสำคัญอย่างมากทีเดียว!!

แท็ก:

หมวดหมู่: วิธีใช้งาน

บทความที่เกี่ยวข้อง