สารบัญเนื้อหา
- เตือนภัย ออนไลน์ ระวังโดนหลอก ผ่านแอปกู้เงินเถื่อน
- ลักษณะของแอปฯ และระบบการกู้เงินเถื่อนในโลกออนไลน์
- จะเกิดอะไรขึ้น หากหลงไปกู้เงินกับแอปฯ และช่องทางเถื่อนเหล่านี้?
- ป้องกันและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งกู้เงินอย่างไร?
- กลโกงจากการหลอกให้กู้เงินผ่านช่องทางออนไลน์
- วิธีป้องกัน การตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน
- บทความที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกลโกงออนไลน์
เตือนภัยออนไลน์ มิจฉาชีพหลอกให้กู้เงิน ผ่านแอปกู้เงินปลอม
“มิจฉาชีพ” มีทุกรูปแบบ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ เช่นนี้ที่คนส่วนใหญ่เริ่มมองหาตัวช่วยทางการเงินและแหล่งเงินกู้ เพื่อนำเงินไปหมุนเวียนค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตหรือธุรกิจต่างๆ ซึ่งพวกมิจฉาชีพเหล่านี้จะมีวิธีการหลากหลายในการหลอกลวง เช่น การแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยราคาถูก ผ่านช่องทางโซเชียลและออนไลน์อย่าง SMS โดนหลอกให้โอนเงินทางไลน์ โดนหลอกให้โอนเงินทางเฟซบุ๊ค Shopee แอปเงินกู้ และsms Call Center หรือแม้แต่การสร้างสร้างสลิปปลอมขึ้นมา ล่าสุดมีข่าว เตือนภัยออนไลน์ จากการระบาดหนักของแอปกู้เงินเถื่อนขึ้นมา หลอกกู้เงินให้แก่คนที่รู้ไม่เท่าทันจนทำให้อาจเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว
ทาง Thunder ได้ทำการรวบรวมพฤติกรรมของเหล่ามิจฉาชีพที่หลอกให้โอนเงิน หลอกให้กู้เงินผ่านแอปปลอม หรือหลอกปล่อยเงินกู้ผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่างๆ เพื่อเป็นการเตือนภัยออนไลน์ล่วงหน้า ว่ามักจะใช้กลลวงอะไร และเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อเรามาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง และมีวิธีการป้องกันหลอกโอนเงินทางไลน์ ให้ชาวสายฟ้าของเราอีกด้วย
เตือนภัย แอปปลอม ออนไลน์ ระวังโดนหลอก ผ่านแอปกู้เงินเถื่อน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลายอาชีพ และหลายครอบครัวต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินจนต้องหยิบยืมเงินจากญาติมิตรคนสนิท หรือกู้เงินจากช่องทางต่าง ๆ ไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งนอกเหนือจากสถาบันการเงินแล้ว คนจำนวนไม่น้อยต่างหันหน้าไปพึ่งการกู้เงินด่วนแบบออนไลน์ตามแอปพลิเคชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ไลน์ รวมถึงแอปพลิเคชันกู้เงินที่สามารถปล่อยเงินกู้ง่ายเพราะมีเงื่อนไขน้อย โอนเงินให้ได้ในทันที ซึ่งเราอยากมาแจ้งขjาวสารเตือนภัยออนไลน์ ถึงจะมีรูปแบบการได้เงินที่สะดวกสบายมากเพียงใด แต่ในทางกลับกัน แอปปลอมฯ เหล่านี้ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เหล่ามิจฉาชีพสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกให้เป็นหนี้ และล้วงข้อมูลเพื่อไปใช้ในทางผิดกฎหมาย
รู้ทันแอปฯ กู้เงินเถื่อน และช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ของมิจฉาชีพ
ถึงจะเป็นทางเลือกที่กฎหมายไม่ครอบคลุม และไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมา แต่ก็ปฏิเสธได้ยากว่า “เงินกู้นอกระบบ” ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงเมื่อเวลามีปัญหาทางการเงิน เพราะนอกจากจะได้เงินไว ไม่ต้องรออนุมัติแล้ว หลาย ๆ คนยังเชื่อว่าการกู้เงินนอกระบบจะสามารถช่วยให้ผู้ที่ไม่มีเครดิตทางการเงิน หรือผู้ไม่มีหลักประกัน สามารถมีเงินมาใช้จ่ายได้แม้จะมีดอกเบี้ยที่สูง และรู้ว่าจะมีการทวงหนี้รายวันที่โหดสุด ๆ ก็ตาม
ลักษณะของแอปฯ และระบบการกู้เงินเถื่อนในโลกออนไลน์
โดยในปัจจุบันนี้ เงินกู้นอกระบบนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่การขอยืมจาก “ผู้ปล่อยดอก” หรือ “แก๊งกู้เงินและทวงหนี้โหด”เหมือนในสมัยก่อน แต่ได้พัฒนาไปไกลถึงโลกออนไลน์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน โดยมิจฉาชีพจะทำการพัฒนาระบบการกู้เงินที่มีระดับความซับซ้อนแตกต่างกันไป โดยที่พบเห็นได้บ่อย ๆ จะมีด้วยกัน 3 ประเภท ดังนี้
บางเจ้าอาจเป็นการทักไลน์ หรือเฟซบุ๊กปลอม แอปปลอม พื่อเสนอให้เรากู้เงิน โดยอาจมีเงื่อนไขการกู้ที่ค่อนข้างง่าย ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือคนในการค้ำประกัน ต้องโอนเงินให้ก่อนเพื่อดำเนินธุรกรรม
เงินกู้นอกระบบบางแห่งอาจสร้างแอปพลิเคชันให้เราดาวน์โหลดมายังโทรศัพท์ จากนั้นก็ให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดเพื่อดำเนินการกู้เงิน
บางแห่งอาจได้พัฒนาระบบที่สามารถหลอกให้เราเป็นหนี้ได้ตั้งแต่การคลิกเข้าลิงก์ครั้งแรก โดยเงินกู้ผิดกฎหมายนี้มักจะส่ง SMS มายังเบอร์โทรศัพท์ของเรา และเมื่อคลิกและยินยอมให้ระบบเข้ามือถือได้ ตัวระบบจะดำเนินการดังต่อไปนี้
ล้วงข้อมูลตั้งแต่รายชื่อผู้ติดต่อในโทรศัพท์ ข้อมูลในแอปฯ ต่าง ๆ เช่น แอปฯ ธนาคาร และแอปฯ โซเชียลมีเดีย รวมไปถึงข้อมูลของตัวเครื่องที่มักมีข้อมูลบัตรประชาชนที่สามารถพาไปยังข้อมูลต่าง ๆ ได้อีกมากมาย
บังคับให้เรากู้เงินตามจำนวนที่ระบุไว้ใน SMS หรือจำนวนที่เรากรอกไว้ทันทีโดยไม่สามารถยกเลิกได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ระบบจะโอนเงินให้ไม่เต็มจำนวน แต่จะมีการบังคับจ่ายหนี้ตั้งแต่วันแรกที่โอนเงินให้
จะเกิดอะไรขึ้น หากหลงไปกู้เงินกับแอปฯ และช่องทางเถื่อนเหล่านี้?
การกู้เงินจากแอปฯ และระบบเถื่อนนี้ นอกจากจะมีดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ระบบต่าง ๆ นี้ก็ยังมาพร้อมกับการขู่กรรโชก รวมถึงผลเสียที่แตกต่างกันออกไปในแต่เคส เช่น
· จ้างแก๊งทวงหนี้มาระราน ขู่ หรือถึงขั้นทำร้ายร่างกาย และทรัพย์สินถึงที่บ้านและที่ทำงาน
· ขู่นำข้อมูลที่ได้จากโทรศัพท์ไปใช้ในทางผิดกฎหมาย ผู้เสียหายบางรายอาจโดนบังคับให้ส่งรูปโป๊เปลือยเพื่อแลกกับการส่งดอกเบี้ย ซึ่งพวกมิจฉาชีพจะนำรูปเหล่านี้ไปขาย หรือลงในเว็บที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมเพื่อเป็นการประจานต่อ
· นำข้อมูลไปขายให้กับแอปฯ เถื่อนลักษณะเดียวกัน หรือส่งต่อให้แอปฯ เถื่อนในเครือข่ายเพื่อหลอกให้เราเป็นหนี้เพิ่ม หรือคุกคามบุคคลที่สามที่ไม่เกี่ยวข้องต่อไป
· และไม่ว่าจะติดต่อเราได้หรือไม่ หรือเราจะจ่ายหนี้ครบแล้วหรือเปล่า มิจฉาชีพเหล่านี้ก็จะติดต่อบุคคลที่สามตามข้อมูลในโทรศัพท์ เพื่อหลอกว่าเราได้นำบุคคลเหล่านี้ไปค้ำประกัน และหลอกให้บุคคลอื่น ๆ ต้องใช้หนี้แทนโดยการบังคับสมัครแอปฯ หรือใช้แก๊งทวงหนี้ไปข่มขู่ถึงหน้าบ้าน โดยแอดมินเพจ Anti หมวกกันน็อค Online ที่คอยช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่อระบุว่า มิจฉาชีพจะทำงานเป็นระบบ และมีการจดบันทึกไว้ว่า บุคคลที่สามคนไหนมีปฏิกิริยาอย่างไร มีการรับสายหรือไม่รับสายเท่าไหร่ สามารถติดต่อช่องทางอื่น ๆ เพิ่มได้หรือไม่ และจะใช้บุคคลที่สามเหล่านี้ไปกดดันกับคนกู้ได้อย่างไร
และในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดที่ได้เคยพบเห็น แอดมินเพจ Anti หมวกกันน็อค Online ยังระบุว่า ผู้เสียหายบางรายอาจโดนก๊อบปี้โทรศัพท์ ซึ่งมิจฉาชีพจะนำข้อมูลที่ได้จากโทรศัพท์ของเหยื่อมาโคลนเป็นโทรศัพท์อีกหนึ่งเครื่อง จากนั้นก็จะทำการควบคุมระบบทั้งหมดจากทางไกล ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูล ลบข้อมูล และการแอบถ่ายเจ้าของโทรศัพท์ จากนั้นก็นำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายต่อไป
ป้องกันและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งกู้เงินอย่างไร?
ควรป้องกันและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งกู้เงินอย่างไร?
เมื่อเห็นผลเสียที่ตามมา ทั้งกับตัวเองและคนรอบข้างขนาดนี้แล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพเข้าถึงตัวได้ นอกจากจะต้องตั้งสติและไม่คลิกลิงก์ของข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินแบบสุ่มสี่สุ่มห้าแล้ว Thunderอยากขอให้ทุกคนได้ลองตรวจสอบข้อมูลของแหล่งเงินกู้อื่น ๆ เพิ่มเติม โดยอ้างอิงจากทางตำรวจกองปราบปราม และ เพจ Anti หมวกกันน็อค Online โดยทุกคนจะต้องสังเกตถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
หากได้รับ SMS จากเบอร์แปลก หรือบุคคลที่ไม่คุ้นชื่อมาก่อน อย่าคลิกลิงก์ หรือคลิกข้อมูลใด ๆ ที่มาพร้อมกับ SMS เด็ดขาด เพราะมีผู้เสียหายบางรายตกเป็นเหยื่อและโดนล้วงข้อมูลไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ดำเนินการขอกู้เงินเลย แต่ถ้าหากเป็น SMS จากสถาบันการเงิน หรือบริษัทกู้ที่เป็นกิจจะลักษณะ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูล และรายละเอียดได้ทันที และหากต้องการใช้บริการก็ควรไปดำเนินการที่สาขาเท่านั้น
เข้าเว็บไซต์ junkcall หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน whoscall และตั้งให้แจ้งเตือนไว้ โดยแอปพลิเคชันนี้จะทำการแจ้งว่าเบอร์แปลกที่โทรเข้ามานั้นเป็นเบอร์ของใคร มีการรายงานไว้หรือไม่ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ถูกมิจฉาชีพหลอกทางโทรศัพท์ได้ เพราะในบางกรณีมิจฉาชีพอาจทำการล้วงข้อมูลจากการรับโทรศัพท์ก็เป็นได้
หากเป็นแอปพลิเคชัน ต้องตรวจสอบให้ดีว่าภายในแอปฯ นั้นมีค่าธรรมเนียมดำเนินเอกสาร หรืออากรแสตมป์เพิ่มหรือไม่ อีกทั้งยังต้องดูให้ดีว่ามีอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
โดยส่วนใหญ่แล้ว แอปฯ กู้เงินมักจะขอเอกสารการเดินบัญชี Statement จากธนาคารที่มีชื่อ – สกุล และเลขบัญชี และสำเนาบัตรประชาชนที่ลงชื่อด้วยลายเซ็นเท่านั้น หากขอเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติม ต้องถามเจ้าหน้าที่ให้เคลียร์ว่าจะเอาไปทำอะไร และเช็กให้ดีว่า แต่ละขั้นตอนต้องใช้เอกสารใดบ้างเพื่อป้องกันการล้วงข้อมูล และการปลอมเอกสาร
หากเป็นการกู้เงินในไลน์ อย่าลืมเช็กเครื่องหมาย Line Official ให้ดี ซึ่งเครื่องหมายที่ถูกต้องจะเป็นโล่เขียวและโล่สีน้ำเงินบนพื้นหลังขาวเท่านั้น และอย่าหลงเชื่อจำนวนผู้ติดตามที่ขึ้นมาตอนแอดไลน์ เพราะข้อมูลเรื่องตัวเลขนี้สามารถทำขึ้นมาได้
แต่สำหรับใครที่ตกเป็นเหยื่อของแอปฯ หรือช่องทางกู้เงินเถื่อนต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว สิ่งแรกที่ควรทำ คือ ตั้งสติ และรวบรวมหลักฐานเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น หรือติดต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1599 เพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป จากนั้นเมื่อปัญหาคลี่คลายแล้วก็อย่าวนเวียนกลับเข้าไปในการกู้เงินนอกระบบอีกเด็ดขาด เพราะนั่นเท่ากับว่าเรากำลังจะสร้างหนี้ที่อาจทำให้ปวดหัวตามมาแบบไม่รู้จักจบอีกก็เป็นได้
กลโกงจากการหลอกให้กู้เงินผ่านช่องทางออนไลน์
ดังนั้น หากใครที่ไม่อยากตกเป็นเหยื่อของแอปฯ กู้เงินเถื่อนเหล่านี้ Thunder จะพาไปเจาะลึกรายละเอียดของแอปฯ เถื่อน ที่หลอกให้เป็นหนี้ พร้อมแนะนำวิธีเช็กความน่าเชื่อถือของแหล่งกู้เงินเพื่อป้องกัน
ไม่อยากตกเป็นเหยื่อเสียเงินให้โจรต้องอ่าน! ยิ่งยุคนี้เศรษฐกิจฝืดเคืองเงินทองหายาก กว่าจะได้มาแต่ละบาทต้องเหนื่อยกายใช้น้ำพักน้ำแรงทำมาหากิน แต่จู่ๆ มิจฉาชีพที่ไหนก็ไม่รู้มาฉกเงินในกระเป๋าเราไปเสียดื้อๆ เจ็บใจยังไม่พอ ยังสร้างความเดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องกินต้องใช้ทุกวัน ระยะหลังๆ มานี้ มิจฉาชีพมาแบบแยบยลกว่าเดิม หลอกขโมยเงินเราโดยใช้ช่องทางออนไลน์ปลอมเป็นธนาคารต่างๆ บ้าง หน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือบ้าง มีผู้ตกเป็นเหยื่อไม่น้อย และอย่าคิดว่าผู้ตกเป็นเหยื่อจะเป็นแค่กลุ่มผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีมากพอ หรือเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงนั้น คนที่มีความรู้เรื่องไอทีอย่างดี คนหนุ่มคนสาว ที่มีหน้าที่การงานดีๆ ก็ตกเป็นเหยื่อกันมาแล้ว โดยกลโกงที่เหล่ามิจฉาชีพที่ใช้หลอกให้โอนเงิน ผ่านทางการหลอกให้กู้เงิน มีดังนี้
- ประกาศปล่อยเงินกู้ผ่านทางเฟซบุ๊กหรือช่องทางอื่น ๆ โดยมักจะคิดดอกเบี้ยไม่สูงมากและมีคำโฆษณาชวนเชื่อเพื่อดึงดูดให้คนเข้ามากู้เงิน เช่น กู้เงินด่วนให้วงเงินสูง ดอกเบี้ยน้อย กู้ง่ายได้เงินเร็ว ไม่ต้องค้ำประกัน เป็นต้น
- เมื่อมีคนติดต่อไปมิจฉาชีพจะทำทีเป็นขอเอกสาร เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขออนุมัติเงินกู้ เช่น สำเนาบัตรประชาชน หน้าสมุดบัญชี และสำเนาทะเบียนบ้าน
- คนร้ายทำทีเป็นขอเวลาตรวจสอบก่อนจะแจ้งว่า “อนุมัติให้กู้” จากนั้นคนร้ายจะบอกให้ผู้กู้โอนเงินค่าดอกเบี้ยไปให้ก่อนในงวดแรก ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถดำเนินการให้กู้ได้ ในส่วนนี้คนร้ายอาจอ้างเป็นในส่วนของค่าดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ก่อนจะได้รับเงินก้อน เมื่อผู้กู้โอนค่าดอกเบี้ยไปคนร้ายก็จะหายเงียบไปพร้อมกับเงินนั้นที่ผู้เสียหายโอนไป
วิธีป้องกัน การตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกให้กู้เงิน
1. มีสติทุกครั้งเมื่อรับสายโทรศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย หรือหากมีการอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานใด ไม่แน่ใจ ให้รีบวางสาย แล้วติดต่อไปยังหน่วยงานที่อ้างถึง อ้างถึงใครให้สอบถามคนนั้น (ควรค้นหาเบอร์โทรติดต่อกลับเอง)
2. ไม่โลภ หากมีคนบอกว่าเราได้รับรางวัล หรือได้ส่วนลดพิเศษเกินจริง ควรเอะใจไว้ก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่
3. ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ แม้ผู้ติดต่อจะอ้างว่าเป็นหน่วยงานราชการหรือสถาบันการเงิน
4. ติดตามข่าวสารกลโกงเป็นประจำ เพื่อรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกง
5. หากมีคนโอนเงินผิดบัญชีมาที่บัญชีเรา ไม่ควรโอนเงินคืนเองควรสอบถาม call center หรือสาขาของธนาคารที่เรามีบัญชีอยู่ให้ดําเนินการตรวจสอบรายละเอียด หากตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ธนาคารแล้วเป็นเงินที่โอนผิดบัญชีมาจริง ให้เรายินยอมให้ธนาคารดําเนินการโอนกลับไปยังบัญชีต้นทางต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้องกับกลโกงทางออนไลน์
- สลิปปลอม ดูยังไง ไม่ให้โดนโกงจากมิจฉาชีพ
- สลิปโอนเงินปลอม หยุดตกเป็นเหยื่อลูกค้าแกล้งโอน
- วิธีเช็คสลิปปลอม ด้วยเทคโนโลยี AI ผ่าน Line Official
- บอทเช็คสลิป ของ Thunder เหตุผลที่ร้านค้ายุคใหม่เลือกใช้
- ตรวจสลิปปลอม ผ่าน Line OA ด้วยตัวช่วยจาก Thunder
สรุป
นี่คือมุกที่แก๊งมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์มักหลอกให้ผู้เคราะห์ร้ายโอนเงินไปให้ โดยใช้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคุณมาสร้างเรื่องราว เช่น โทรมาบอกว่ามีพัสดุตกค้าง ซึ่งหลายคนก็ตกหลุมพรางเพราะมัวแต่ตกใจ แล้วก็ไม่อยากเสียเวลาไปขึ้นโรงขึ้นศาลให้เสียเวลา เลยตัดสินใจโอนเงินไปให้มิจฉาชีพเพื่อจบปัญหาให้เร็วที่สุด สุดท้ายก็กลายเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ดังนั้น Thunder หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณรับมือกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินได้นะครับ!
บทความที่เกี่ยวข้อง
7 วิธีการตรวจสอบสลิปปลอม เพื่อป้องกันการโดนโกงจากมิจฉาชีพ
ง่ายสุดๆ วิธีการตรวจสอบสลิปปลอม เพื่อป้องกันการโดนโกงจากมิจฉาชีพ แนะนำระบบตรวจสลิปปลอมผ่านไลน์จาก Thunder Solution ที่สะดวก รวดเร็วRead more
การใช้ AI ตรวจสลิปปลอม เพิ่มความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
เรียนรู้ การใช้ AI ตรวจสลิปปลอม เพิ่มความปลอดภัย ลดข้อผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ รวมถึงวิธีการทำงานและข้อดี โดยใช้ AI ตรวจสลิปปลอมRead more
ระบบตรวจสอบสลิปอัตโนมัติ ตัวอย่างวิธีการทำงานและการใช้งาน
การใช้งาน ระบบตรวจสอบสลิปอัตโนมัติ มีวิธีการทำงานและการใช้งานอย่างไรบ้าง รูปแบบของ ระบบตรวจสอบสลิปอัตโนมัติ มีอะไรบ้าง ที่นี่มีคำตอบRead more