การนำระบบ API มาใช้ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การโอนเงิน ตรวจสลิปปลอม หรือการนำไปพัฒนาในด้านของธุรกิจต่างๆ ในบทความนี้จะเล่าถึงหน้าที่ของ API รวมถึงความจำเป็นในการใช้การโอนเงิน ระบบ API เพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินผ่านช่องทางดิจิทัลได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
ในการให้บริการแบบเรียลไทม์ การบริการที่ราบรื่น และการเข้าถึงทุกอย่างในที่เดียว ทำให้บริการแบบนี้เป็นที่ชื่นชอบของผู้ใช้ แต่เพื่อให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพแก่ลูกค้า ก็จำเป็นต้องส่งมอบความคาดหวังของลูกค้าอย่างถูกวิธีและส่งต่อให้ผู้ใช้มีความง่ายต่อการใช้งานอีกด้วย
ระบบ API โอนเงิน ระบบ api คืออะไร
API ย่อมาจากคำว่า Application Programming Interface คือ ส่วนเชื่อมต่อ (interface) ที่กำหนดวิธีการสื่อสารระหว่างโปรแกรมของระบบไอทีหนึ่งกับระบบอื่น ๆ ซึ่งทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลรวมถึงการเรียกใช้งานโปรแกรมข้ามเครือข่ายระหว่างระบบไอทีทำได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
การใช้ API ในบริการทางการเงินไม่ใช่เรื่องใหม่ ในภาคการเงินไทย ธนาคารหลายแห่งมีการพัฒนา API เพื่อเชื่อมต่อการทำธุรกรรมระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจ เช่น การโอนเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ การชำระเงินด้วย QR code ซึ่งการพัฒนา API ที่ต่างคนต่างกำหนดโดยไม่มีมาตรฐานจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนและปัญหาในการทำงานร่วมกันตามมา
สำหรับคนที่ยังไม่เห็นภาพมากนัก เราลองมาเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดขึ้น สมมติผู้ใช้บริการเปรียบเสมือนลูกค้าที่มาทานอาหารในโรงแรม เมื่อลูกค้าอยากทานเมนู A บริกรจะต้องรับคำสั่งและไปบอกให้ครัวจัดเตรียมอาหารและมาส่งให้กับลูกค้า ซึ่งบริกรก็คือ API ส่วนข้อมูลก็คืออาหารในห้องครัวนั่นเอง
ความสำคัญของ API
การรับ – ส่งข้อมูลจะสามารถดำเนินการผ่านระบบโดยอัตโนมัติได้ หากระบบของธนาคารมีการเชื่อม API ระหว่างกัน ทำให้เกิดช่องทางที่ผู้ให้บริการรายอื่นสามารถเข้าถึงบริการข้อมูลนี้ผ่าน API ที่ธนาคารเตรียมไว้ ดังนั้น ธนาคาร A จะสามารถเรียกขอข้อมูลจากธนาคาร B ได้โดยตรงผ่าน API (ตามความยินยอมของลูกค้าที่ยืนยันตัวตนแล้ว) และธนาคาร B จะสามารถส่งข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลไปยังธนาคาร A ผ่าน API ได้โดยตรงระหว่างระบบ (system – to – system data transfer) โดยไม่ต้องผ่านมือลูกค้า ซึ่งจะช่วยทำให้ขั้นตอนการดำเนินธุรกรรมทั้งหมดอยู่ในระบบอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ รวมถึงเพิ่มความคล่องตัวในการเข้าถึงบริการต่าง ๆ ให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างมาก
การรับ – ส่งข้อมูลระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูลแต่ละคู่ สามารถมีข้อกำหนด (specification) ของการเชื่อมต่อ API และรูปแบบหน้าตาข้อมูลที่แตกต่างกันได้ ตามที่ผู้ให้บริการแต่ละรายจะกำหนดขึ้นเอง อย่างไรก็ดี ในการดำเนินธุรกิจ การเชื่อมต่อระหว่างผู้รับและผู้ส่งข้อมูลทีละคู่จะทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการพัฒนาระบบ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐาน API ร่วมกัน (API standardization) เพื่อให้ระบบสามารถเชื่อมต่อกันได้ (interoperability) ในวงกว้าง เพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน ประหยัดเวลา รวมทั้งลดต้นทุนในการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบ
ชนิดของ API
Private API: นิยมใช้กันภายในองค์กร คนนอกไม่สามารถใช้ได้
Partner API: ใช้ได้เฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
Public API: ทุกคนสามารถใช้ได้
ระบบ API โอนเงินธนาคาร มีของธนาคารไหนบ้าง
สำหรับ ระบบ API เช็คสลิป โอนเงิน จากธนาคาร จะเป็นการเปิดให้ผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาต สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลบางส่วนของธนาคารได้ เช่น ข้อมูลส่วนตัวพื้นฐานของลูกค้า ชื่อ-สกุล วันเดือนปีเกิด เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ข้อมูลบน QR CODE เพื่อให้ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ภายนอก สามารถเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลการชำระเงินผ่านสลิปโอนเงินนั้นๆได้ เป็นบริการจากธนาคารที่จะช่วยตรวจสอบสลิปโอนเงินว่ามีการปลอมแปลงหรือทำซ้ำหรือไม่ได้ สำหรับ api ตรวจ สอบ การโอนเงิน เช็คยอดเงินธนาคาร ที่ให้บริการฟรี นั้น ในปัจจุบันธนาคารที่ทำระบบตรวจสอบสลิปอัตโนมัติมีดังนี้ คือ ธนาคารกสิกรไทย (KBank API) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB API) ธนาคารกรุงศรีฯ (Krungsri API) รายละเอียดของแต่ละธนาคาร มีดังนี้
1. ธนาคารกสิกรไทย (Kbank)
2. ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)
3. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Krungsri)
ทำไม API ถูกนำมาใช้ในระบบการโอนเงิน
1. เพิ่มความคล่องตัวให้กับการทำงานของแบรนด์
API ช่วยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ให้กับแอปฯ หรือเว็บไซต์ของแบรนด์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งแบรนด์ไม่ต้องทำเองทั้งหมด แต่ให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ จัดการให้เรา เช่น เราขายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่ต้องมีการบวกภาษี เราอาจจะใช้ API ที่เป็นระบบคำนวณภาษีอัตโนมัติเข้ามาช่วย ซึ่งไม่ต้องคอยอัปเดตเองตลอดเวลาเมื่ออัตราภาษีมีการเปลี่ยนแปลง
2. เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
หนึ่งเหตุผลที่ทำให้ API สำคัญในการทำการตลาดออนไลน์ คือ API ช่วยให้เราเข้าถึงข้อมูลได้อัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้เวลานาน สมมติลูกค้าจะขอ Statement บนแอปฯ ของธนาคารแห่งหนึ่ง API ก็จะทำหน้าที่ส่งคำขอและรับข้อมูลกลับมาส่งให้ลูกค้าทางอีเมลได้ทันที
3. สร้างความโดดเด่นให้เหนือกว่าคู่แข่ง
ไม่แปลกใจที่การใช้ API จะช่วยให้แบรนด์ดูโดดเด่น เพราะสิ่งนี้ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ปลายทาง ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคที่ชอบความสะดวกสบาย รวดเร็วทันใจ และแตกต่างจากผู้อื่น
หากลองสังเกตเราจะเห็นว่า ในไทยนิยมดู Netflix กันมากเพราะคอนเทนต์หลากหลาย แถมดูได้หลายอุปกรณ์ทั้ง Smart TV, Apple TV, Laptop, Tablet, Smartphone หรือแม้แต่ PS4-PS5 ซึ่งจริง ๆ แล้ว Netflix ไม่ได้พัฒนาซอฟแวร์เองเพื่อให้เล่นได้ทุกอุปกรณ์ แต่แค่เปิด API ให้นักพัฒนาซอฟแวร์เข้าถึงระบบของเขาได้นั่นเอง ทำให้ปัจจุบันมีอุปกรณ์มากกว่า 800 ชนิดที่สามารถเล่น Netflix ได้
4. ช่วยเพิ่มยอดขาย
ไม่ว่าจะทำธุรกิจประเภทไหน คุณสามารถเลือกใช้ API ที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณได้ เมื่อผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการใช้ API ยอดขายก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ตัวอย่างการนำ API มาใช้งานในปัจจุบัน
API นอกจากจะนิยมนำมาใช้ในระบบการโอนเงินแล้ว ยังมีการนำมาใช้งานในช่งทาง หรือบริการอื่นๆอีกด้วย เนื่องจากความสามารถในการรับส่งข้อมูลที่แม่นยำและรวดเร็ว เชื่อถือได้ จึงมีหลากหลายบริการที่นำ API ไปพัฒนา ซึ่งตัวอย่างการใช้งาน API ในปัจจุบันมีอะไรบ้างนั้น มาดูกัน
Social Media API
โดยปกติโซเชียลมีเดียทุกแพลตฟอร์มมีการใช้ API ทั้งสิ้น ยกตัวอย่าง
- Facebook API เช่น การดึง Facebook Insight หรือ Automate Ad Management ที่สามารถสร้างเทมเพลตโฆษณาได้หลายอันพร้อมกันเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของโฆษณา
- Instagram API เช่น Discovering @mentions ที่รวบรวมบัญชีที่กล่าวถึงแบรนด์เพื่อเก็บข้อมูลหรือตอบกลับคอมเมนต์
- Youtube API เช่น การเปลี่ยนชื่อคลิปวิดีโอให้ตรงตามยอดวิวแบบเรียลไทม์ (เล่าเรื่องผี 1,000,000 วิว เมื่อเวลาผ่านไปมียอดถึง 2,000,000 วิว ชื่อคลิปก็จะเปลี่ยนให้อัตโนมัติ)
Google Ads API
Google Ads API เป็นตัวช่วยที่ให้ผู้ลงโฆษณาจัดการบัญชีและแคมเปญ Google Ads ขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกได้ว่ามีประโยชน์ต่อกลุ่มเอเจนซีโฆษณา บริษัทที่ทำ SEM หรือแบรนด์ใหญ่ ๆ ที่ต้องจัดการกับแอคเคานต์จำนวนมาก
โดยหลัก ๆ เราสามารถใช้ Google Ads API ดึงรีพอร์ตแบบกำหนดเองได้ (Custom Reporting), จัดการโฆษณาตามแต่ละพื้นที่ (Ad Management Based on Inventory) หรือวางกลยุทธ์การประมูล (Manage Smart Bidding Strategies) เป็นต้น
PayPal API
เมื่อเราซื้อสินค้าที่แอปฯ หนึ่งแล้วเลือกชำระเงินผ่าน PayPal แอปฯ จะส่งคำสั่งซื้อไปที่ PayPal API โดยระบุจำนวนเงินที่ต้องชำระพร้อมกับรายละเอียดที่สำคัญอื่น ๆ จากนั้นจะตรวจสอบสิทธิ์ผู้ใช้และยืนยันการซื้อ หากไม่มีปัญหาอะไร API จะส่งการยืนยันการชำระเงินกลับมาที่แอปฯ เพื่อบอกว่าการชำระเงินเสร็จสิ้นแล้ว
Login API
นี่น่าจะเป็น API หนึ่งที่เราคุ้นเคยกัน เคยไหมเวลาจะลงทะเบียนบนแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์มักจะมีปุ่ม “Login with Facebook” หรือ “Sign in with Google” ให้เราเลือกโดยที่ไม่ต้องกรอกอีเมลและรหัสผ่านใหม่ ซึ่งแอปฯ หรือเว็บไซต์จะเรียก API มาตรวจสอบว่าเราล็อกอิน Facebook หรือ Google ไว้แล้วหรือยัง ถ้า Login แล้ว เราก็สามารถลงชื่อเข้าใช้ผ่านปุ่ม “Login with Facebook” หรือ “Sign in with Google” ได้เลย
Financial Apps
ทุกธนาคารมีการใช้ API ภายในเพื่อจัดการการเงินของผู้ใช้บริการซึ่งมีการเชื่อม API ไปแต่ละแผนก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลบัญชีออมทรัพย์ ข้อมูลบัตรเครดิต หรืออื่น ๆ นอกจากนี้ บางธนาคารยังมีการเปิด API ของตัวเองให้แอปฯ ของนักพัฒนาภายนอกสามารถเชื่อมกับแอปฯ ธนาคารเพื่อชำระเงินได้อีกด้วย
อย่าง Katalyst ก็ได้เปิด API ของตัวเองเช่นกัน นั่นก็คือ บริการ QR Payment ที่ให้ Partner ส่งข้อมูลมายัง API แล้วแปลงข้อมูลเป็น QR Code ทันทีเพื่อให้ลูกค้าสแกนชำระเงินได้สะดวก
Weather Apps
หากเราเคยเช็กสภาพอากาศผ่าน Google หรือ Siri รู้ไว้เลยว่าพวกเขาไม่ได้เป็นผู้รวบรวมสภาพอากาศด้วยตนเอง แต่เป็นการใช้ API ส่งคำขอเพื่อดึงข้อมูลสภาพอากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยานั่นเอง
ระบบตรวจสลิปโอนเงินอัตโนมัติ
Slip Verification เป็นการให้บริการตรวจสอบสลิปอัตโนมัติที่ได้รับการพัฒนาผ่าน API ของธนาคาร ทำให้สามารถตรวจสอบสลิปจากทุกธนาคารในประเทศไทยได้แบบเรียลไทม์ ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ แถมยังถูกพัฒนาให้มาพร้อมกับระบบจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลของสลิปโอนเงินที่เข้ามายังร้านค้าอีกด้วย ผ่านบริการ
LINE Chatbot หรือ Line OA เพียงแค่ตั้งกลุ่มไลน์ของร้านหรือเพิ่มบอทเข้าไปปใน Line ของร้านค้า ก็สามารถส่งภาพสลิปเข้าไปตรวจสอบ โดยระบบจะยืนยันผลการเช็กสลิปทันที ลูกค้าโอนเงินปุ๊บ ร้านค้าก็สามารถรับการแจ้งเตือนการตรวจสอบสลิปได้เลย ผ่านการรีเช็กจากระบบของธนาคารแห่งประเทศไทย
บริการที่ตอบโจทย์ทุกร้านค้า พร้อมเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ง่าย ๆ ไม่ว่าจะเป็นรายวัน รายปีสามารถเลือกตามช่วงเวลาที่ต้องการได้เลย แม้มีหลายสาขาหลายบัญชี ก็สามารถจัดการได้อย่างเป็นระบบ
หากสนในระบบตรวจสลิปโอนเงินอัตโนมัติ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมของผลิตภัณฑ์ ได้ที่เว็บไซต์ของ Thunder Solution ผู้ให้บริการบอทเช็คสลิปโอนเงินอัตโนมัติ ตรวจสลิปโอนเงินผ่านไลน์
สรุป
จากตัวอย่างการใช้ API กันหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการ นำ API มาใช้ในระบบ โอนเงินหรือตรวจสอบการโอนเงิน การนำมาใช้ดึง Insight จากโซเชียลมีเดียหรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ หรือการลงชื่อเข้าใช้โดยล็อกอินผ่าน Facebook, Google, เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
จะเห็นว่า ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นล้วนเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมประเภทต่างๆ หรือแม้แต่การทำการตลาดออนไลน์ นอกจาก API จะเพิ่มความคล่องตัวให้กับการทำงานของแบรนด์และเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่ายแล้ว ยังสามารถสร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์ได้อีกด้วย แน่นอนว่าผลลัพธ์ที่ตามมาก็คือยอดขายนั่นเอง แต่ทุกยอดขายมีความเกี่ยวข้องกับธุรกกรมทางการเงินแน่นอน ซึ่งจากตัวอย่างการนำ API ไปใช้งานข้างต้นแล้ว จะเห็นว่านอจากช่วยส่งเสริมการขาย ยังมีการนำมาใช้ในเรื่องหารตรวจสอบอีกด้วย อย่างที่บริษัท ธันเดอร์ โซลูชัน ได้นำ API มาพัฒนาให้เป็นระบบตรวจสอบสลิปโอนเงินอัตโนมัติ ตรวจสลิปโอนเงินผ่านไลน์ นั่นเอง
บทความที่เกี่ยวข้อง
7 วิธีการตรวจสอบสลิปปลอม เพื่อป้องกันการโดนโกงจากมิจฉาชีพ
ง่ายสุดๆ วิธีการตรวจสอบสลิปปลอม เพื่อป้องกันการโดนโกงจากมิจฉาชีพ แนะนำระบบตรวจสลิปปลอมผ่านไลน์จาก Thunder Solution ที่สะดวก รวดเร็วRead more
การใช้ AI ตรวจสลิปปลอม เพิ่มความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
เรียนรู้ การใช้ AI ตรวจสลิปปลอม เพิ่มความปลอดภัย ลดข้อผิดพลาด เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบ รวมถึงวิธีการทำงานและข้อดี โดยใช้ AI ตรวจสลิปปลอมRead more
ระบบตรวจสอบสลิปอัตโนมัติ ตัวอย่างวิธีการทำงานและการใช้งาน
การใช้งาน ระบบตรวจสอบสลิปอัตโนมัติ มีวิธีการทำงานและการใช้งานอย่างไรบ้าง รูปแบบของ ระบบตรวจสอบสลิปอัตโนมัติ มีอะไรบ้าง ที่นี่มีคำตอบRead more