27 พฤษภาคม 2567 เช็คด่วน!! ก่อนโดนธนาคารแบน เพื่อสกัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เปิดบัญชีม้า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) เอาจริง บังคับให้ ซิมมือถือ โมบายแบงก์กิ้ง ชื่อบัญชี “โมบายแบงก์กิ้ง” ต้องตรงกันกับ “ชื่อเจ้าของซิม” ซิมมือถือ เบอร์มือถือ พร้อมสแกน Mobile Banking กว่า 106 ล้านบัญชี หากชื่อไม่ตรงกัน ก็จะไม่สามารถใช้โมบายแบงกิ้งได้
ทางทีม ธันเดอร์ ผู้ให้บริการ ตรวจสลิปปลอม ได้รวบรวมวิธีการตรวจสอบข้อมูลและยืนยันตัวตน เพื่อตรวจสอบเบื้องต้น สำหรับชื่อซิมทีลงทะเบียนซิมกับชื่อบัญชีธนาคารวาตรงกันหรือไม่ ที่ทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันปัญหาการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งไม่ได้ในอนาคต และลดความยุ่งยากกับปัญที่จะเกิดขึ้นมาตามหลัง โดยวิธีวิธียืนยันตัวตน Mobile banking และ ตรวจสอบเบอร์ mobile banking ที่ผูกกับบัญชีธนาคาร สามารถทำได้ดังนี้
วิธีเช็คว่าซิมมือถือ โมบายแบงก์กิ้ง ตรงกันหรือไม่
ที่จริงแล้ววิธียืนยันตัวตน Mobile banking ป้องกันซิมผี บัญชีม้า หลัง กสทช. ออกมาตรการเข้ม เริ่มสแกน 106 ล้านบัญชี ดีเดย์ 27 พฤษภาคม 2567 หากพบชื่อไม่ตรงกับ mobile banking ต้องลงทะเบียนใหม่
สำนักงาน กสทช. แนะนำให้ประชาชนตรวจสอบเบอร์ mobile banking ที่ผูกกับบัญชีธนาคาร ต้องเป็นบุคคลเดียวกัน ซึ่งเป็นมาตรการเพื่อสกัดกั้นซิมผีบัญชีม้าในระบบการโอนเงินออนไลน์ โดยวิธีเช็คว่าชื่อตรงกับเบอรโทรหรือยัง ทำได้โดยใช้ขั้นตอนหนึ่วของการสมัครพร้อมเพย คอ การตรวจสอบว่า เบอร์มือถือที่เราลงทะเบียนกับค่ายมือถือด้วยหมายเลขบัตรประชาชนตัวเองหรือไม่? โดยสามารถตรวจสอบได้เบื้องต้น ดังนี้
1.เช็กผ่านหมายเลขอัตโนมัติ
สามารถทำได้โดยการกด *179* ตามด้วยเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก กด # และโทรออก หากเลขตรงกันจะได้รับข้อความกลับมาทันทีว่าเลขบัตรประชาชนตรงกับเลขเบอร์โทรศัพท์
กด *179*หมายเลขบัตรประชาชน# (ไม่ต้องเว้นวรรค) กดโทรออก
กรณีข้อมูลไม่ตรงกันธนาคารจะแจ้งข้อความผ่านโมบายแบงกิ้งว่า ข้อมูลโทรศัพท์ไม่ตรงกับข้อมูลเจ้าของบัญชี ขอให้ผู้ใช้บริการไปลงทะเบียนที่ศูนย์บริการเพื่ออัปเดตชื่อให้ตรงกัน หากข้อมูลตรงกันแล้วจะเปิดใช้งานโมบายแบงกิ้งได้ตามปกติ แต่ถ้าข้อมูลไม่ตรงกันและพ้นระยะเวลาที่กำหนด บัญชีธนาคารจะใช้ได้ตามปกติ แต่โมบายแบงกิ้งจะใช้งานไม่ได้
2.เช็กผ่านแอปพลิเคชัน 3 ชั้น
แอปพลิเคชัน 3 ชั้น เป็นแอปพลิเคชันที่ทางกสทช. สร้างขึ้นมาเพื่อให้เราตรวจสอบและป้องกันการสวมรอยใช้เบอร์โทรศัพท์ของเราในทางที่ไม่ดี โดยสามารถแจ้งหากพบเบอร์แปลกปลอมที่เราไม่ได้ลงทะเบียนไว้ อีกทั้งถึงยังสามารถล็อคเลขบัตรประชาชนของเราไม่ให้ไปเปิดเบอร์ใหม่ได้อีกด้วย
โดยสามารถทำได้ด้วยการดาวโหลดแอปพลิเคชั่น 3 ชั้น ผ่าน Google Play, App Store หรือ Scan QR Code หลังจากนั้นให้เข้าไปในแอปพลิเคชันเพื่อลงทะเบียนและยืนยันตัวตน ผ่านการกรอกข้อมูลต่าง ๆเช่น หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน, หมายเลขโทรศัพท์ และหมายเลข OTP ที่จะได้รับผ่าน SMS
ทั้งนี้ ในปัจจุบันไทยมีบัญชีโมบายแบงกิ้ง 106 ล้านบัญชี และมีประมาณ 30 ล้านบัญชี ที่ชื่อไม่ตรงกับซิมการ์ด
กรณีซิมมือถือ โมบายแบงก์กิ้ง ที่ไม่ตรงกับเจ้าของจริง
คณะกรรมการกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกับ ปปง. และ ธนาคารพาณิชย์ ชั้นนำในการตรวจสอบเข้มกับเบอร์ธุรกรรม Mobile Banking ที่ไม่ตรงกับเจ้าของจริง เพื่้อป้องกันการเปิดซิมผีและบัญชีม้า
เมื่อ 21 พฤษภาคม ที่ผ่านมา พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช. ด้านกฎหมาย และประธานอนุกรรมการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายความผิดทางเทคโนโลยีฯ เชิญประชุมคณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วย พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร. พล.ต.ต.เอกรักษ์ ลิมสังกาศ รอง เลขา ปปง., ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย, ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกค่าย, และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อหารือแนวทางตรวจสอบคัดกรองเบอร์โมบายแบงก์กิ้ง ที่ผูกกับบัญชีธนาคาร อันเป็นการส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว โดยมีเป้าหมายให้ชื่อผู้จดทะเบียนเบอร์ซิมเลขหมายที่ขอเปิดใช้โมบายแบงก์กิ้ง และเจ้าของบัญชีธนาคาร ต้องเป็นของบุคคลคนเดียวกัน อันเป็นมาตรการต่อยอดจากประกาศ กสทช. ที่ให้ผู้ถือครองซิมเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ตั้งแต่ 6 เลขหมายขึ้นไป ยืนยันตนภายในกำหนด เพื่อสกัดปัญหาซิมผีบัญชีม้า
พล.ต.อ.ณัฐธรฯ กล่าวว่า กสทช. ขานรับนโยบายรัฐบาล ตั้งทีมงานร่วม กสทช. ปปง. และ ธนาคาร รวมทั้งผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ สางเบอร์โมบายแบงก์กิ้งแปลกปลอมและต้องสงสัย ที่ชื่อผู้ถือครองไม่ตรงกับชื่อเจ้าของบัญชีธนาคาร เพื่อสกัดซิมผีบัญชีม้าในระบบการโอนเงินออนไลน์
โดยมีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
- ธนาคารจะเป็นผู้รวบรวมบัญชี (เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือ เลขหนังสือเดินทาง) พร้อมเบอร์โทร โมบายแบงก์กิ้งที่ผูกกับบัญชีธนาคาร ส่งให้ ปปง. ตามช่องทางที่กำหนด
- ปปง. รับข้อมูลเลข ID ประจำตัว และเบอร์โมบายแบงก์กิ้งจากธนาคารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เข้ารหัส แล้วเปิดช่องทางสื่อสารข้อมูลให้ กสทช.
- กสทช. รับข้อมูลดังกล่าวจาก ปปง.นำเบอร์โมบายแบงก์กิ้งมาแยกเครือข่าย เพื่อส่งตรวจหารายชื่อผู้ถือครอง และตรวจเปรียบเทียบกับรายชื่อเจ้าของบัญชีว่าเป็นบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ แล้วแจ้งผลให้ ปปง. และธนาคาร ทราบ
หากซิมมือถือ ไม่ตรงกับ บัญชีโมบายแบงกิ้ง ยังใช้งานได้หรือไม่
ธปท.ยัน ซิมมือถือ-บัญชีโมบายแบงกิ้ง ไม่ตรงกัน ยังใช้งานได้ตามปกติ ล่าสุด จากกรณีของ นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ชื่อของผู้ใช้บริการผ่านหมายเลขโทรศัพท์ (ซิมการ์ด) ชื่อไม่ตรงกับบัญชีธนาคาร กรณีนี้ยังสามารถใช้บริการผ่านช่องทางโมบายแบงกิ้งได้ปกติ ยังไม่มีการตัดการให้บริการ เนื่องจากต้องรอความชัดเจนอย่างเป็นทางการในเรื่องนี้อีกครั้ง และกรณีที่ซิมการ์ดและบัญชีไม่ตรงกันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้
พล.ต.ต.เอกรักษ์ฯ รองเลขา ปปง. กล่าวว่า หากผลการตรวจคัดกรองพบ ชื่อผู้ถือครองซิมการ์ดโมบายแบงก์กิ้งไม่ใช่เจ้าของบัญชี ปปง. และ ธนาคาร จะดำเนินการต่อโดยประชาสัมพันธ์แจ้งเจ้าของบัญชี ให้ดำเนินการเปลี่ยนไปใช้เบอร์ซิมการ์ดที่ตนเป็นเจ้าของ หรือเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองเบอร์เป็นชื่อตน ยกเว้นมีเหตุผลความจำเป็น
เช่น เปิดโมบายแบงก์กิ้งให้บุตรหลานที่เป็นเด็กเยาวชน หรือบิดามารดาผู้สูงวัย เป็นต้น แต่หากเจ้าของบัญชีไม่ดำเนินการเปลี่ยนแปลง อาจพิจารณาระงับการใช้งานธนาคารออนไลน์ต่อไป
สำหรับกรณีขอเปิดใช้โมบายแบงก์กิ้งรายใหม่ ธนาคารต้องตรวจสอบชื่อเจ้าของบัญชีและเจ้าของเบอร์ต้องเป็นบุคคลคนเดียวกัน
โดยหลังจากนี้ ธปท.จะเร่งหารือเร่งด่วนกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กสทช.และธนาคาร เพื่อให้ความชัดเจนในการให้บริการดังกล่าว
“ยืนยันว่าลูกค้าโมบายแบงกิ้งยังใช้บริการได้ปกติ และเชื่อว่าเรื่องนี้สามารถชี้แจงได้ถึงเหตุที่ชื่อไม่ตรงกัน ดังนั้น การให้บริการขณะนี้ยังใช้การได้ปกติ แต่ในรายละเอียด ธปท. และผู้ที่เกี่ยวข้อง แบงก์ต้องหารือกันเพื่อหาข้อสรุปเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน”
บทความที่เกี่ยวข้อง
รวมวิธีการจดทะเบียน Vat สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่
ผู้ประกอบการมือใหม่ฟังทางนี้ มาดูขั้นตอนการจดทะเบียน Vat และบอกรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องรู้ การจดภาษีมูลค่าเพิ่มใช้เอกสารอะไรบ้าง คุณสามารถหาคำตอบได้ที่นี่Read more
เรียนรู้เรื่องภาษีผู้ประกอบการ ต้องจ่ายภาษีอะไรบ้าง
เปิดคัมภีร์ผู้ประกอบการ 101 ภาษีผู้ประกอบการที่ต้องจ่าย มีอะไรบ้าง แนะนำคู่มือภาษีที่ทุกควรรู้ พร้อมแนวทางการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ประกอบการทุกคนRead more
เปิด 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ เพื่อเป็นนายตัวเอง
อยากเป็นเจ้านายตัวเอง (Self Employee) ทำไงดี? รวม 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ สำหรับคนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เหมาะมากสำหรับนักลงทุนมือใหม่Read more