หัวใจสำคัญของการเป็นผู้ประกอบการที่ดี ไม่ได้มีแค่การทำความเข้าใจด้านธุรกิจและความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังต้องมีความรู้เกี่ยวกับภาษีผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และลดความเสี่ยงในการถูกตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐ แล้วภาษีผู้ประกอบการที่ต้องจ่าย มีอะไรบ้าง? เรารวบรวมให้ทุกคนได้ศึกษากันภายในบทความนี้
ภาษีผู้ประกอบการ เหมาะสำหรับธุรกิจแบบไหน
สำหรับการเสียภาษีผู้ประกอบการ ขอแนะนำให้เป็นธุรกิจที่จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล เช่น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน เนื่องจากจะมีการคิดภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับบริษัทโดยเฉพาะ หากยังไม่ได้จดทะเบียน ก็จะสามารถจ่ายได้แค่ภาษีแบบบุคคลธรรมดา ไม่สามารถนำมาจัดตั้งหรือใช้กับธุรกิจ แต่ใช้ยื่นรายได้ของตัวเองได้
ภาษีผู้ประกอบการที่ต้องจ่าย มีอะไรบ้าง
ภาษีผู้ประกอบการ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการทุกคน ควรทำความเข้าใจ เรามาดูประเภทของภาษีผู้ประกอบการที่ต้องจ่าย ว่ามีอะไรบ้าง? เพื่อให้คุณสามารถศึกษาและกำหนดแนวทางการวางแผนการจ่ายภาษีได้อย่างถูกต้อง ไม่เสี่ยงต่อการถูกปรับภาษีย้อนหลังในอนาคต
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ธุรกิจที่จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล อย่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยเราสามารถคำนวณอัตราการเสียภาษี ตามประเภทของธุรกิจที่เราจดทะเบียน Vat ตั้งแต่แรก จากนั้นทำการยื่นภาษีและแสดงหลักฐานการเสียภาษีในทุกปี เพื่อให้ธุรกิจของคุณสามารถดำเนินการต่อไปได้
2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นระบบการจัดเก็บภาษีที่เรียกเก็บจากรายได้ของบุคคลหรือบริษัทที่ได้รับค่าตอบแทน มักมาจากค่าบริการ ค่าจ้าง หรือค่าคอมมิชชั่น เป็นต้น โดยจะถูกระบุภายในเอกสารการแจ้งหนี้หรือ Invoice ซึ่งอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะขึ้นอยู่กับประเภทของบริการ ประมาณ 3% ถึง 15% ขึ้นอยู่กับประเภทของบริการ
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากการขายสินค้าหรือบริการ โดยทั่วไปแล้ว ธุรกิจที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปีจะต้องจดทะเบียนเป็นผู้เสีย Vat สำหรับอัตราภาษีในปัจจุบันอยู่ที่ 7% ผู้ประกอบการจะต้องเรียกเก็บ Vat จากลูกค้าและนำส่งให้กับกรมสรรพากร เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกเรียกปรับย้อนหลัง
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นประเภทของภาษีที่ถูกออกแบบมาสำหรับบางธุรกิจ เช่น ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจโรงภาพยนตร์ หรือธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์ จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยอัตราภาษีและวิธีการคำนวณที่แตกต่างกันไป เราควรศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขในการเสียภาษีสำหรับธุรกิจเฉพาะให้ชัดเจน
5. อากรแสตมป์
อากรแสตมป์ คือภาษีที่เรียกเก็บจากเอกสารทางการต่าง ๆ เช่น สัญญา ข้อตกลง ใบเสร็จรับเงิน และเอกสารทางธุรกิจอื่น ๆ โดยผู้ที่ทำเอกสารเหล่านี้จะต้องติดแสตมป์ซึ่งมีมูลค่าตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นการยืนยันว่าได้ชำระภาษีแล้ว
6. ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่ คือภาษีที่เรียกเก็บจากประชาชนหรือธุรกิจในพื้นที่ เพื่อใช้ในการพัฒนาสาธารณูปโภคและบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานท้องถิ่น เช่น การสร้างถนน การปรับปรุงสถานที่สาธารณะ การจัดการขยะ และการให้บริการด้านสุขภาพ
7. ภาษีป้าย
ภาษีป้าย คือภาษีที่เรียกเก็บจากการติดตั้งหรือใช้ป้ายโฆษณา ป้ายแสดงชื่อร้านค้า หรือป้ายประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งมีการกำหนดอัตราภาษีตามขนาดและประเภทของป้าย โดยมีวัตถุประสงค์ในการควบคุมการใช้พื้นที่สาธารณะและสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยในชุมชน
การลดหย่อนภาษีผู้ประกอบการมีอะไรบ้าง
- การลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล : ธุรกิจ SMEs ที่จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการในรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 30 ล้านบาท จะได้รับยกเว้นภาษีสำหรับกำไรสุทธิ 300,000 บาทแรก นอกจากนี้ยังได้รับการลดหย่อนอัตราภาษีเป็น 15% สำหรับกำไรสุทธิที่เกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3 ล้านบาท รวมถึงยังสามารถนำค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ค่าทำบัญชี และค่าสอบบัญชี มาหักเป็นค่าใช้จ่ายลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า โดยมีเงื่อนไขว่าต้องทำในระยะเวลา 5 รอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน
- การหักค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม : ผู้ประกอบการ SMEs ที่จ้างผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) สามารถหักรายจ่ายได้เป็น 2 เท่า โดยมีเงื่อนไขว่าค่าจ้างจะต้องไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท และจำนวนผู้สูงอายุที่จ้างจะต้องไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด อีกทั้งยังสามารถนำค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมสามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายลดหย่อนภาษีได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเป็นการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำอยู่จริง
- การบริจาคเพื่อการกุศล : ธุรกิจ SMEs ที่บริจาคให้กับองค์กรหรือมูลนิธิ สามารถขอลดหย่อนภาษีได้ โดยบริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นำมาหักรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนเงินที่บริจาค แต่ต้องไม่เกิน 2% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย รวมถึงบริจาคให้กับสถาบันการศึกษา สามารถนำมาหักรายจ่ายได้ 2 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศล
สรุป
ภาษีผู้ประกอบการนั้นมีหลายแบบ อีกทั้งการจ่ายภาษียังเป็นหน้าที่ที่คนไทยทุกคนต้องทำ สำหรับใครที่อยากรู้เพิ่มเกี่ยวกับการจ่ายภาษีสำหรับผู้ประกอบการ สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรเพิ่มเติม แต่ถ้าอยากได้ตัวช่วยจัดการยอดโอนแบบอัตโนมัติ Thunder Solution นอกจากบริการบอทตรวจเช็กสลิปโอนเงินแล้ว เรายังมีระบบหลังบ้านที่ช่วยจัดการ รายรับให้อีกด้วย ไม่ใช่แค่ระบบจัดการยอดโอนธรรมดา แต่เป็นโซลูชันที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการโดยเฉพาะ ฟังก์ชันรายงานข้อมูลเป็น Excel สามารถดึงข้อมูลได้ทันที ได้ทั้งบริการตรวจสลิปโอนเงิน ที่ช่วยตรวจสอบสลิปปลอม พร้อมทั้งระบบจัดการหลังบ้าน เพื่อให้ง่ายต่อผู้ประกอบการในการยื่นภาษีได้อีกด้วย
แท็ก:
หมวดหมู่: บทความ
บทความที่เกี่ยวข้อง
รวมวิธีการจดทะเบียน Vat สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่
ผู้ประกอบการมือใหม่ฟังทางนี้ มาดูขั้นตอนการจดทะเบียน Vat และบอกรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องรู้ การจดภาษีมูลค่าเพิ่มใช้เอกสารอะไรบ้าง คุณสามารถหาคำตอบได้ที่นี่Read more
เรียนรู้เรื่องภาษีผู้ประกอบการ ต้องจ่ายภาษีอะไรบ้าง
เปิดคัมภีร์ผู้ประกอบการ 101 ภาษีผู้ประกอบการที่ต้องจ่าย มีอะไรบ้าง แนะนำคู่มือภาษีที่ทุกควรรู้ พร้อมแนวทางการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ประกอบการทุกคนRead more
เปิด 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ เพื่อเป็นนายตัวเอง
อยากเป็นเจ้านายตัวเอง (Self Employee) ทำไงดี? รวม 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ สำหรับคนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เหมาะมากสำหรับนักลงทุนมือใหม่Read more