หลอกโอนเงิน รวมกลโกงยอดฮิต ที่เจ้าของร้านค้าต้องระวัง!

หลอกโอนเงิน

มิจฉาชีพมีทุกรูปแบบ โดยเฉพาะ การหลอกโอนเงิน ที่คนส่วนใหญ่เริ่มมองหาตัวช่วยทางการเงินและแหล่งเงินกู้ เพื่อนำเงินไปหมุนเวียนค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตหรือธุรกิจต่างๆ ซึ่งพวกมิจฉาชีพเหล่านี้จะมีวิธีการหลากหลายในการหลอกลวง เช่น การแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยราคาถูก ผ่านช่องทางโซเชียลและออนไลน์อย่าง SMS  โดนหลอกให้โอนเงินทางไลน์ โดนหลอกให้โอนเงินทางเฟซบุ๊ค แอปเงินกู้ และเบอร์โทรศัพท์  หรือแม้แต่การสร้างแกรมต่างๆเช่นแปสร้างสลิปปลอมขึ้นมา หลอกโอนเงินให้แก่คนที่รู้ไม่เท่าทัน

ซึ่งทาง Thunder ได้ทำการรวบรวมพฤติกรรมของเหล่ามิจฉาชีพที่หลอกให้โอนเงิน หรือหลอกปล่อยเงินกู้ผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่างๆ ว่ามักจะใช้กลลวงอะไร และเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อเรามาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง และมีวิธีการป้องกันหลอกโอนเงินทางไลน์ และวิธีแจ้งความโดนหลอกโอนเงิน ให้ชาวสายฟ้าของเราอีกด้วย

สารบัญเนื้อหา

  • 4 กลโกง หลอกให้โอนเงิน ของมิจฉาชีพยอดฮิต ที่ร้านค้าต้องระวัง มีอะไรบ้าง
  • วิธีป้องกัน การตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน
  • เช็กรายชื่อบัญชีปลอม ของมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน
  • วิธีแจ้งความ เมื่อโดนหลอกให้โอนเงิน ต้องทำยังไง

4 กลโกง หลอกโอนเงิน ของมิจฉาชีพยอดฮิต ที่ร้านค้าต้องระวัง มีอะไรบ้าง

ในปัจจุบันที่มีการเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น ก็ส่งผลให้เกิดเหล่ามิจฉาชีพที่พยายามเข้ามาหลอกลวงมากขึ้นแน่นอน ไม่ใช่แค่ลูกค้าประชาชนเท่านั้น ยังรวมถึงพ่อค้าแม่ขายด้วยเช่นกัน ดังนั้นร้านค้าหรือเจ้าของธุรกิจจึงต้องติดตามข่าวสารและทำความเข้าใจกลโกงในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อรู้เท่าทันและระวังไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ โดน”หลอกโอนเงิน“ภัยใกล้ตัวสำหรับร้านค้ามีอะไรบ้าง มาดูกัน โดยทาง Thunder Solution ได้รวมรวมกลโกงยอดฮิต มาให้ทุกท่านดังนี้

  1. กลโกงจากสลิปปลอม
  2. กลโกงจากพัสดุตกค้าง/ผิกกฏหมาย
  3. กลโกงทางโทรศัพท์ หรือแก๊งคอลเซนเตอร์
  4. กลโกงจากการหลอกให้กู้เงินผ่านช่องทางออนไลน์

1. กลโกง หลอกโอนเงิน จากสลิปปลอม

หนึ่งในปัญหาหนักใจของคนทำธุรกิจออนไลน์นั่นคือปัญหาลูกค้าปลอม! ที่มักจะเข้ามาปั่นป่วนและโกงร้านค้าจนทำให้เสียหายกันมากมายหลายเจ้า โดยวิธีหลักๆ ที่ลูกค้าปลอมเลือกใช้เพื่อโกงร้านค้านั่นคือการปลอมแปลงสลิปเพื่อทำเหมือนว่าพวกเขาโอนเงินให้คุณแล้ว ซึ่งตัวสลิปปลอมนี้เรายังแบ่งได้อีกหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็น สลิปยอดเงินไม่ตรง สลิปซ้ำ สลิปที่ชื่อผู้รับไม่ถูกต้อง สลิปยอดเงินต่ำกว่ากำหนด  ถ้าหากคุณไม่เช็คให้ดีก็จะส่งของให้พวกเขาไป โดยที่ได้เงินไม่ครบ เงินขาด ส่งผลให้ขาดทุนได้ง่ายๆ ยิ่งลูกค้าเยอะ ยิ่งต้องเช็คให้ชัวร์

วิธีป้องกันสลิปปลอม

ใช้ระบบจัดการร้านค้าที่มีบริการช่วยเช็คสลิปปลอม ของ Thunder Solution

สำหรับระบบช่วยจัดการเช็คสลิปโอนเงิน หรือที่เรียกกันก็คือ บอทเช็คสลิป โอนเงิน บริการนี้จะเป็นการให้บริการผ่าน Line OA ซึ่งเราขอแนะนำให้รู้จักกับ Thunder Solution บริการที่จะช่วยให้พ่อค้า แม่ค้าหรือร้านค้าต่างๆสามารถเช็คสลิปโอนเงินได้แบบเรียลไทม์ เพียงแค่ส่งรูปสลิปโอนเงินที่ได้รับมา จากนั้นส่งเข้าไปในแชทไลน์ของ Thunder เพียงเท่านี้ก็สามารถรู้ผลได้ทันที ไม่เพียงแค่เช็คสลิปปลอม แต่ Thunder ยังสามารถระบุได้ว่าสลิปที่นำมาใช้นั้น เป็นสลิปใช้ซ้ำ ยอดเงินไม่ตรง หรือข้อมูลทั้งหมดนั้นถูกต้องหรือไม่อีกด้วย สามารถรู้ผลได้ทันที โดยทมี่ไม่ต้องเสียเวลาเช็ค ขนาดตัวหนังสือ หรือสแกน QR Code หรือรอแจ้งเตือนจากธนาคารเลย แถมยังสรุปยอดใช้จ่ายหลังจบงานในแต่ละวันได้อีกด้วย โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งคิดบัญชีเอง แถมนยังสะดวก ปลอดภัย ข้อมูลถูกต้องแม่นยำ

สนใจใช้งาน ติดต่อเรา

หมดปัญหาสลิปปลอม สลิปซ้ำ สรุปรายรับได้ทุกยอดโอน ด้วย Thunder Solution ผู้ช่วย ตรวจเช็คสลิป ลดเวลาเช็ค เพิ่มเวลาชัวร์!

Thunder สามารถตรวจเช็คและเก็บข้อมูลรายรับได้ใน 1 วินาที!

เพียงติดตั้ง Thunder Bot แล้วถ่ายสลิปลงกลุ่มที่ติดตั้งไว้ ก็สามารถเช็คสลิปได้ทันที

รองรับระบบสาขา มีหน้าสรุปยอดให้คุณเช็คได้ แบบรายวัน รายเดือน รายปี!

บทความที่เกี่ยวข้องกับสลิปปลอม

2. กลโกงจากพัสดุตกค้าง/ผิกกฏหมาย

ในสถานการณ์ปัจจุบัน คนไทยมีสถิติการสั่งซื้อของออนไลน์มากขึ้น เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด ประกอบกับการพัฒนาของแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้า เอื้ออำนวยให้เกิดความสะดวกต่อการช๊อปปิ้งออนไลน์ บางคนอาจสั่งซื้อสินค้าหลายรายการ จนบางครั้ง จำไม่ได้ว่าได้สั่งซื้ออะไรไปบ้าง หรือสั่งสินค้าเพียงชิ้นเดียวก็จริง แต่อยู่ระหว่างรอสินค้ามาส่ง แล้วเราก็ไม่รู้วิธีการบริหารจัดการของผู้ให้บริการขนส่งด้วยว่ามีวิธีการอย่างไร มิจฉาชีพได้อาศัยช่องโหว่ของข้อเท็จจริงนี้ รวมตัวกันเป็นแก๊งขึ้นมา ปลอมเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ให้บริการขนส่ง รวมถึงปลอมเป็นเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆ ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการหลอกลวงเราว่ามีพัสดุตกค้าง ถูกตีกลับ และในกล่องพัสดุนั้นมีสิ่งของผิดกฎหมายบรรจุอยู่ สุดท้ายหลอกให้เราเสียค่าปรับ โดยโอนเงินไปยังบัญชีของแก็งค์นี้ เมื่อรู้ตัวอีกทีก็สูญเงินไปหลายบาทแล้ว

2.1 “หลอกโอนเงิน”

เริ่มด้วยมีเบอร์แปลกโทรเข้ามาที่เบอร์เรา โดยจะสอบถามเราก่อนว่าได้เคยสั่งของออนไลน์หรือไม่ ซึ่งในความเป็นจริง คนไทยเราส่วนใหญ่ ก็เคยสั่งของออนไลน์กันมาบ้าง ไม่มากก็น้อย และบางครั้ง เราก็อาจหลงลืมไปว่า เราได้เคยสั่งของอะไรไว้ที่อยู่ระหว่างการจัดส่งหรือไม่ เราก็อาจจะตอบกลับไปว่าเคยหรือไม่เคย คราวนี้แก๊งพวกนี้จะแจ้งเราว่า มีพัสดุถูกตีกลับโดยมีเราเป็นผู้รับ หรือผู้ส่ง แล้วแต่ว่าแก๊งพวกนี้จะอุปโลกขึ้นมา และในกล่องพัสดุนั้นมีสิ่งของผิดกฎหมายต่างๆเช่น บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม หนังสือเดินทางซึ่งเป็นของต้องห้ามหรือเป็นของผิดกฎหมาย สร้างสถานการณ์ขึ้นมาว่าเราเกี่ยวข้องกับสิ่งของเหล่านั้น มาถึงตรงนี้เราก็อาจจะสงสัยว่าเราเกี่ยวข้องจริงหรือไม่ บางคน หากไม่ทันได้สั้งสติ ก็อาจจะหลงเชื่อไปว่าอาจจะมีการผิดพลาดทางการขนส่งของผู้ส่งหรือผู้รับ ที่เราอาจเข้าไปเกี่ยวข้องโดยที่เราไม่รู้ตัว และคิดว่าเรื่องที่เรากำลังฟังอยู่เป็นเรื่องจริง ทีนี้เราก็จะสอบถามกลับไปยังคู่สนทนา(แก๊ง) ว่าเราต้องทำอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น คราวนี้ ก็จะนำมาสู่กลโกลขั้นต่อไป

2.2 ลวงให้โอนเงิน

แก๊งจะอุปโลกขึ้นมาว่า เดี๋ยวจะต่อสายไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อดำเนินการแจ้งความเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยแจ้งกับเราว่า หากเราไม่ได้ทำจริง เราก็สามารถแจ้งความเป็นหลักฐานกับตำรวจได้ แล้วก็โอนสายไปให้พวกของตนเอง(ที่อาจจะนั่งอยู่ที่เดียวกัน ณ สถานที่ใดที่หนึ่ง) ทำทีเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยแจ้งยศ ชื่อ สกุล ให้เราทราบ เพื่อให้ดูตนเองดูน่าเชื่อถือว่าเป็นตำรวจจริง โดยอาศัยว่าเราคงไม่ได้ทันตั้งตัวเพื่อจะตรวจสอบชื่อนั้นว่ามีจริงหรือไม่ และหากจะตรวจสอบจริง เราก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ เนื่องจากเราไม่มีฐานข้อมูลรายชื่อตำรวจทั่วประเทศ และเราก็อาจจะมีเวลาไม่เพียงพอที่จะตรวจสอบชื่อนั้น เมื่อแจ้งชื่อแล้ว แก๊งพวกนี้ จะแจ้งแบบเดียวกับคนที่อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของผู้ให้บริาการขนส่ง และแจ้งเราว่าต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้ ไม่เพียงแต่การคุยโทรศัพท์เท่านั้น บางแก๊ง ขอไอดีไลน์ของเรา แล้วทำเนียนแอดไลน์มาหาเรา รูปโปรไฟล์ก็ทำเนียนให้เป็นรูปตราสถานีตำรวจหรือตราโล่ตำรวจ พร้อมวิดีโอคอลให้เราเห็นเลยก็มี โดยใช้คลิปวิดิโอตำรวจจริงๆใส่หน้ากากอนามัยแล้วใส่เสียงลิปซิ้ง ทำให้เหมือนว่ามีตำรวจจริงๆกำลังวิดีโอคอลพูดกับเราอยู่ เมื่อสร้างความน่าเชื่อถือ(ในระดับหนึ่ง)ได้แล้ว หากเราตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อ ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป (ในขั้นตอนนี้บางครั้งแก๊งก็อาจจอุปโลกตนเองเป็นเจ้าหน้าที่ศุลกากร หรือเจ้าหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องก็มี ตามแต่เรื่องราวที่แก๊งนี้จะสร้างขึ้นมา)

3. กลโกงทางโทรศัพท์ หรือแก๊งคอลเซนเตอร์

แก๊งคอลเซนเตอร์มีมาอย่างยาวนาน พัฒนารูปแบบกลโกงไปตามยุคสมัย โดยลักษณะกลโกงที่ใช้คือจะสุ่มเบอร์เพื่อโทรศัพท์ไปหาเหยื่อ หรือส่งข้อความ SMS  โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ หรือองค์กรต่าง ๆ เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ จากนั้นก็จะสร้างเรื่องหลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อ โดยเป้าหมายคือ “นำเงินเหยื่อออกจากบัญชีด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง” เราจึงต้องรู้ให้ทันกลโกงมิจฉาชีพ โดยข้ออ้างที่มิจฉาชีพมักใช้หลอกเหยื่อมีดังนี้

3.1 บัญชีเงินฝากถูกอายัด / เป็นหนี้บัตรเครดิต

ข้ออ้างที่มิจฉาชีพนิยมใช้มากที่สุด คือหลอกว่าเหยื่อถูกอายัดบัญชีเงินฝากและเป็นหนี้บัตรเครดิต เพราะเป็นเรื่องที่สามารถสร้างความตกใจแ​ละง่ายต่อการชักจูงเหยื่อให้โอนเงิน

ปัจจุบันพบว่า มิจฉาชีพจะอ้างว่าเป็นพนักงานธนาคาร บอกข้อมูลได้ถูกต้อง แล้วแจ้งว่าเรามีหนี้บัตรเครดิต หากเหยื่อปฏิเสธก็จะบอกว่าอาจเป็นมิจฉาชีพที่ปลอมบัตรเครดิตเราแล้วเอาไปใช้ จากนั้นก็จะแนะนำให้รีบแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่ ซึ่งมักอยู่ไกล เช่นต่างจังหวัด แต่ถ้าเหยื่อไม่สะดวกเดินทางก็จะอาสาว่าจะติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ ซึ่งก็จะส่งสายโทรศัพท์ไปให้ตำรวจตัวปลอม

3.2 บัญชีเงินฝากพัวพันกับการค้ายาเสพติดหรือการฟอกเงิน

เมื่อมิจฉาชีพหลอกถามข้อมูลจากเหยื่อแล้วพบว่าเหยื่อมีเงินในบัญชีเป็นจำนวนมาก จะหลอกเหยื่อต่อว่าบัญชีนั้น ๆ พัวพันกับการค้ายาเสพติดหรือติดปัญหาการฟอกเงิน จึงขอให้เหยื่อโอนเงินทั้งหมดมาตรวจสอบ

3.3 เงินคืนภาษี

ข้ออ้างคืนเงินภาษีจะถูกใช้ในช่วงที่มีการยื่นภาษีและมีการขอคืน โดยมิจฉาชีพจะแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรแจ้งว่า เหยื่อได้รับภาษีคืนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะต้องยืนยันรายการและทำตามคำบอกที่ตู้เอทีเอ็ม แต่แท้จริงแล้วขั้นตอนที่มิจฉาชีพให้เหยื่อทำนั้นเป็นการโอนเงินให้กับมิจฉาชีพ​

3.4 โชคดีรับรางวัลใหญ่

มิจฉาชีพจะอ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่บริษัทหรือตัวแทนองค์กรต่าง ๆ แจ้งข่าวดีแก่เหยื่อว่า เหยื่อได้รับเงินรางวัลหรือของรางวัลที่มีมูลค่าสูง เมื่อเห​ยื่อหลงเชื่อ จะหลอกเหยื่อให้โอนเงินค่าภาษีให้​

3.5 หลอกขอข้อมูลส่วนตัว

มิจฉาชีพอาจอ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่สถาบันการเงิน หลอกด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น อัพเดทข้อมูลส่วนตัว หรืออาจหลอกให้สมัครงานออนไลน์ เพื่อขอข้อมูลส่วนตัวสำคัญ เช่น วัน/เดือน/ปีเกิด เลขที่บัตรประชาชน ก่อนนำไปใช้ในทางทุจริต

3.6 โอนเงินผิด

กลโกงนี้จะหลอกว่าโอนเงินผิดเข้าบัญชีของเหยื่อ ขอให้โอนเงินคืน เมื่อเหยื่อตรวจสอบยอดเงินและพบว่ามีเงินโอนเข้ามาจริง จึงรีบโอนเงินนั้นไปให้มิจฉาชีพ โดยที่ไม่รู้ว่าเงินที่โอนเข้ามานั้น เป็นเงินที่มิจฉาชีพหลอกมาจากเหยื่อรายอื่นให้โอนมาให้เรา เพื่อใช้บัญชีเราเป็นที่พักเงิน หรือเป็นเงินที่ได้มาอย่างผิดกฎหมาย

4. กลโกงจากการหลอกให้กู้เงินผ่านช่องทางออนไลน์

ไม่อยากตกเป็นเหยื่อเสียเงินให้โจรต้องอ่าน!  ยิ่งยุคนี้เศรษฐกิจฝืดเคืองเงินทองหายาก กว่าจะได้มาแต่ละบาทต้องเหนื่อยกายใช้น้ำพักน้ำแรงทำมาหากิน แต่จู่ๆ มิจฉาชีพที่ไหนก็ไม่รู้มาฉกเงินในกระเป๋าเราไปเสียดื้อๆ เจ็บใจยังไม่พอ ยังสร้างความเดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องกินต้องใช้ทุกวัน ระยะหลังๆ มานี้ มิจฉาชีพมาแบบแยบยลกว่าเดิม หลอกขโมยเงินเราโดยใช้ช่องทางออนไลน์ปลอมเป็นธนาคารต่างๆ บ้าง หน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือบ้าง  มีผู้ตกเป็นเหยื่อไม่น้อย และอย่าคิดว่าผู้ตกเป็นเหยื่อจะเป็นแค่กลุ่มผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีมากพอ หรือเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงนั้น คนที่มีความรู้เรื่องไอทีอย่างดี คนหนุ่มคนสาว ที่มีหน้าที่การงานดีๆ  ก็ตกเป็นเหยื่อกันมาแล้ว โดยกลโกงที่เหล่ามิจฉาชีพที่ใช้หลอกให้โอนเงิน ผ่านทางการหลอกให้กู้เงิน มีดังนี้

  1. ประกาศปล่อยเงินกู้ผ่านทางเฟซบุ๊กหรือช่องทางอื่น ๆ โดยมักจะคิดดอกเบี้ยไม่สูงมากและมีคำโฆษณาชวนเชื่อเพื่อดึงดูดให้คนเข้ามากู้เงิน เช่น กู้เงินด่วนให้วงเงินสูง ดอกเบี้ยน้อย กู้ง่ายได้เงินเร็ว ไม่ต้องค้ำประกัน เป็นต้น
  2. เมื่อมีคนติดต่อไปมิจฉาชีพจะทำทีเป็นขอเอกสาร เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขออนุมัติเงินกู้ เช่น สำเนาบัตรประชาชน หน้าสมุดบัญชี และสำเนาทะเบียนบ้าน
  3. คนร้ายทำทีเป็นขอเวลาตรวจสอบก่อนจะแจ้งว่า “อนุมัติให้กู้” จากนั้นคนร้ายจะบอกให้ผู้กู้โอนเงินค่าดอกเบี้ยไปให้ก่อนในงวดแรก ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถดำเนินการให้กู้ได้ ในส่วนนี้คนร้ายอาจอ้างเป็นในส่วนของค่าดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ก่อนจะได้รับเงินก้อน เมื่อผู้กู้โอนค่าดอกเบี้ยไปคนร้ายก็จะหายเงียบไปพร้อมกับเงินนั้นที่ผู้เสียหายโอนไป

วิธีป้องกัน การตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน

1. มีสติทุกครั้งเมื่อรับสายโทรศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย หรือหากมีการอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานใด ไม่แน่ใจ ให้รีบวางสาย แล้วติดต่อไปยังหน่วยงานที่อ้างถึง อ้างถึงใครให้สอบถามคนนั้น (ควรค้นหาเบอร์โทรติดต่อกลับเอง)

2. ไม่โลภ หากมีคนบอกว่าเราได้รับรางวัล หรือได้ส่วนลดพิเศษเกินจริง ควรเอะใจไว้ก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่

3. ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ แม้ผู้ติดต่อจะอ้างว่าเป็นหน่วยงานราชการหรือสถาบันการเงิน

4. ติดตามข่าวสารกลโกงเป็นประจำ เพื่อรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกง

5. หากมีคนโอนเงินผิดบัญชีมาที่บัญชีเรา ไม่ควรโอนเงินคืนเองควรสอบถาม call center หรือสาขาของธนาคารที่เรามีบัญชีอยู่ให้ดําเนินการตรวจสอบรายละเอียด หากตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ธนาคารแล้วเป็นเงินที่โอนผิดบัญชีมาจริง ให้เรายินยอมให้ธนาคารดําเนินการโอนกลับไปยังบัญชีต้นทางต่อไป

เช็กรายชื่อบัญชีปลอม ของมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน

ช่องทางการเช็กรายชื่อมิจฉาชีพ 2565 ทำได้ด้วยวิธีเข้าเว็บไซต์เช็กรายชื่อคนโกง เช่น blacklistseller.com หรือ whoscheat.com

Blacklistseller.com เป็นเว็บไซต์ที่เปิดให้บริการเกี่ยวกับการเช็กรายชื่อคนโกง คนที่อยากเข้าไปดูไม่ต้องสมัครสมาชิก แต่หากอยากไปโพสต์เพื่อแจ้งรายชื่อคนโกงก็ต้องเก็บประวัติ Log In วิธีการตรวจสอบเช็กรายชื่อคนโกงด้วย Blacklistseller.com เพียงแค่กรอกข้อมูลสั้นๆ ได้แก่ เลขบัญชี, ชื่อ หรือ นามสกุล ก็จะมีรายละเอียดวิธีการโกงของคนนั้นขึ้นมา แต่หากบัญชีปลอดภัย ไม่มีชื่ออยู่บนเว็บ ก็พอจะไว้ใจได้ระดับหนึ่ง

Whoscheat.com เป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ที่ให้คุณเช็กรายชื่อคนโกงได้จาก เลขบัญชีธนาคาร, เบอร์โทร, เลขบัตรประจำตัวประชาชน และชื่อนามสกุล โดยกรอกข้อมูลแล้วหากไม่พบชื่อมิจฉาชีพ ก็ไม่ได้หมายความว่าปลอดภัย ต้องพิจารณาข้อมูลอื่นประกอบก่อนตัดสินใจโอน

ทั้งสองเว็บเป็นการตรวจสอบรายชื่อห้ามโอนเงินที่เป็นบัญชีคนไทยเท่านั้น หากเป็นบัญชีต่างประเทศจะตรวจสอบไม่ได้

วิธีแจ้งความ เมื่อโดนหลอกให้โอนเงิน ต้องทำยังไง

เมื่อลูกค้าถูกหลอกแล้วจะตกเป็น “ผู้เสียหาย” สามารถเข้าแจ้งความเอาผิดกับมิจฉาชีพได้ตามกฎหมาย แต่ต้องแจ้งความภายใน 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด โดยไปแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่ที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เช่น สถานที่โอนเงิน ถ้าโอนเงินออนไลน์ที่บ้าน ก็แจ้งได้ที่สถานีตำรวจที่บ้านท่านตั้งอยู่ และวันนี้ทาง thunder อยากมาแนะนำวิธีการแจ้งความ และหารเตรียมเอกสาร เพื่อประกอบการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจค่ะ

 เมื่อโดนหลอกให้โอนเงินจะสามารถแจ้งความได้ 2 วิธี คือ

1. แจ้งความที่เกิดเหตุโอนเงิน

          โอนเงินที่ไหนให้เดินทางไปที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ โดยจะต้องแจ้งความประสงค์กับพนักงานสอบสวนว่า “ประสงค์ขอแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย” ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ขอลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐาน พร้อมทั้งให้ปากคำถึงรายละเอียดพฤติการณ์ในคดี

2. แจ้งความออนไลน์

          เข้าไปแจ้งความได้ที่ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ thaipoliceonline.com โดยให้ลงทะเบียนกรอกข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคดี เช่น ชื่อ นามแฝง เลขบัตรประชาชน อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัญชีธนาคารที่ใช้ในการทำธุรกรรม และช่องทางติดต่ออื่น ๆ อย่างเช่น LINE, Facebook, Instagram, Twitter ฯลฯ รวมทั้งหลักฐานการโอนเงิน และรูปแบบคำโฆษณาของมิจฉาชีพ

          โดยหลังจากเจ้าหน้าที่รับแจ้งความออนไลน์แล้วจะส่งเรื่องไปยังสถานีตำรวจที่ผู้แจ้งความสะดวกในการเดินทางไปแจ้งความ จากนั้นจะเริ่มสืบสวน โดยพนักงานสอบสวนจะโทร. นัดหมายเพื่อสอบปากคำ และดำเนินการต่าง ๆ ตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป

แจ้งความโดนหลอกโอนเงิน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องเตรียมในการแจ้งความ ได้แก่
  1. บัตรประชาชนของผู้เสียหาย
  2. หลักฐานการโอนเงิน เช่น สลิปโอนเงิน สำเนาสมุดบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย
  3. หลักฐานในการติดต่อ เช่น แคปหน้าจอข้อความ แชตที่พูดคุยกัน
  4. หน้าประกาศหรือข้อความโฆษณาของมิจฉาชีพที่ทำให้หลงเชื่อ
  5. ข้อมูลมิจฉาชีพ เช่น ชื่อ-สกุล, หมายเลขบัญชีธนาคารที่โอนเงินไปให้, หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ, ที่อยู่ เป็นต้น
  6. หลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี

*หมายเหตุ เอกสารตามข้อ 4 และ 5 ควรปรากฎ ที่อยู่ หรือ URL ของพ่อค้า-แม่ค้า โดยทำการถ่ายภาพ หรือแคปเจอร์ผ่านมือถือหรือคอมพิวเตอร์

สรุป

นี่คือมุกที่แก๊งมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์มักหลอกให้ผู้เคราะห์ร้ายโอนเงินไปให้ โดยใช้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคุณมาสร้างเรื่องราว เช่น โทรมาบอกว่ามีพัสดุตกค้าง ซึ่งหลายคนก็ตกหลุมพรางเพราะมัวแต่ตกใจ แล้วก็ไม่อยากเสียเวลาไปขึ้นโรงขึ้นศาลให้เสียเวลา เลยตัดสินใจโอนเงินไปให้มิจฉาชีพเพื่อจบปัญหาให้เร็วที่สุด สุดท้ายก็กลายเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ดังนั้น Thunder หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณรับมือกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินได้นะครับ!

บทความที่เกี่ยวข้อง