จะทำอย่างไรดี หากเผลอกดโอนเงินไปแล้วลืมเช็คบัญชีปลายทางว่าชื่อผู้รับโอนถูกต้องหรือเปล่า หรือบางทีโอนเงินไปแล้วแต่ไม่ได้รับเงิน จะทำยังไงดี ต้องโอนใหม่หรือว่าควรรอก่อนดี ดึงเงินคืนได้ไหม ที่นี่มีคำตอบ ไม่ว่าจะโอนเงินผิดบัญชี หรือโอนไปแล้วแต่ไม่ได้รับเงิน จะต้องทำอย่างไร? ต้องแจ้งภายในกี่วัน ติดต่อที่ไหนหรือแม่แต่เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบ มีอะไรบ้าง ที่นี่ทีเดียว
สารบัญเนื้อหา
- โอนเงินผิดบัญชี ต้องทำอย่างไร?
- กรณีโอนเงินไปผิดบัญชี
- กรณีที่มีเงินโอนเข้ามาผิดบัญชี
- ทำอย่างไรเมื่อเกิดปัญหา การโอนเงินไปปิดบัญชี?
- ถ้าต้องการโอนเงินแต่ Mobile Banking ขัดข้องทำอย่างไร ?
- หลักฐานที่ควรเตรียมเพื่อให้ธนาคารตรวจสอบ
- รวมเบอร์ call center ธนาคาร
- สถิติแอปฯ ธนาคารล่ม
โอนเงินผิดบัญชี ต้องทำอย่างไร?
ในกรณีนี้จะมี การโอนเงินผิดบัญชี หลักๆ อยู่ 2 กรณี คือ โอนเงินผิดบัญชี และ รับเงินโอนผิดบัญชี ซึ่งในกรณีที่ได้รับเงินโอนมาเราอาจจะต้องตรวจสอบให้ดีก่อนโอนเงินคืนทุกครั้ง โดยเฉาะพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่มักได้รับเงินโอนเข้ามามากๆ พร้อมกัน อาจจะต้องมีการตรวจสอบให้ดี หรือไม่หากยุ่งมากจนไม่มีเวลาตรวจสอบอาจเลือกใช้ตัวช่วยในการตรวจสอบสลิปโอนเงินแทน
1. กรณีโอนเงินไปผิดบัญชี
หากเราโอนเงินผิดบัญชีไปบัญชีคนอื่น ถ้าเป็นคนที่เรารู้จักกันก็สามารถพูดคุยเพื่อขอให้เขาโอนเงินคืนกลับมาให้เราได้เลย แต่ถ้าเป็นคนที่ไม่รู้จักกันจะมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นมา อย่างแรก เมื่อเรารู้แล้วว่าเราโอนเงินไปผิดบัญชี ให้เราไปติดต่อธนาคารของเรา (ธนาคารต้นทาง) เพื่อสอบถามว่าธนาคารต้องการเอกสารอะไรบ้าง เนื่องจากแต่ละธนาคารอาจใช้เอกสารไม่เหมือนกัน สิ่งที่เราสามารถเตรียมได้ เช่น ข้อมูลวันเวลา จำนวนเงิน ช่องทางการโอนเงิน ถ้าทำรายการที่ตู้ ATM ก็อาจจะเก็บสลิปใบบันทึกรายการไว้ แต่หากทำผ่าน mobile banking ก็เก็บ e-slip โอนเงินไว้ รวมทั้งอาจจะเตรียมหลักฐานเอกสารอื่น ๆ ที่ธนาคารอาจจะขอ เช่น ใบคำร้องขอตรวจสอบการโอนเงินผิดบัญชี สำเนาบัตรประชาชน หรือหากเป็นการโอนเงินผิดไปต่างธนาคาร ธนาคารบางแห่งอาจร้องขอใบแจ้งความเป็นหลักฐานเพิ่มเติมด้วย
เมื่อธนาคารรับแจ้งปัญหาเรียบร้อยแล้วก็จะแจ้งระยะเวลาการดำเนินการให้เราทราบ และจะเป็นผู้ประสานงานติดต่อบัญชีปลายทางเพื่อให้ความยินยอมโอนเงินคืนกลับมาต่อไป ถ้าผู้รับโอนยินยอมคืนเงิน ธนาคารก็จะโอนเงินเข้าบัญชีให้กับเรา แต่ถ้าผู้รับโอนไม่ยินยอมคืนเงินหรือติดต่อไม่ได้ เราสามารถแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อออกคำสั่งทางกฎหมายให้ธนาคารของผู้รับโอนดำเนินการอายัดบัญชี หรือเปิดเผยข้อมูลบัญชีให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป
2. กรณีที่มีเงินโอนเข้ามาผิดบัญชี
กรณีที่มีเงินโอนผิดเข้ามาในบัญชีของเราซึ่งจะคล้ายกับกรณีที่แล้ว คือถ้าเป็นคนรู้จักกัน ได้พูดคุยกันแล้วพบว่าเขาโอนเงินผิดมาจริง เราก็สามารถที่จะโอนเงินคืนเจ้าของบัญชีได้เลย แต่ถ้าไม่รู้จักกัน ทางที่ดีเราควรจะไปติดต่อธนาคารของเราโดยตรง เพื่อตรวจสอบก่อน ถ้าพบว่าเงินที่โอนเข้ามาผิดบัญชีจริง ๆ ก็ให้ความยินยอมแก่ธนาคารในการโอนเงินกลับไปให้เจ้าของบัญชี
สิ่งที่พึงระวังคือ เราไม่ควรโอนเงินกลับเอง เพราะอาจจะเป็นกลลวงของมิจฉาชีพที่จะใช้บัญชีเราเป็นทางผ่านในการโอนเงินผิดกฎหมาย หรือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการฟอกเงิน ที่ปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ “บัญชีม้า” ก็เป็นได้ โดยมิจฉาชีพจะขอให้โอนเงินเข้าอีกบัญชีหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นคนละธนาคาร คนละชื่อบัญชี โดยอ้างเหตุผลว่าโอนผิดบัญชีไปแล้ว ไหน ๆ จะต้องโอนเงินใหม่ ก็ฝากให้เราช่วยโอนเลยแล้วกัน กลายเป็นว่าเราทำเรื่องผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจ
แต่ถ้าหากมีเงินโอนผิดเข้ามาในบัญชีของเราจริงโดยไม่ใช่กลโกงของมิจฉาชีพ แต่เราเลือกที่จะเพิกเฉย หรือนำเงินที่ได้มาไปใช้ เจ้าของเงินก็สามารถแจ้งความดำเนินคดีกับเราได้เช่นกัน
วิธีการป้องกันปัญหาที่ดีที่สุด ก็คือการตรวจสอบข้อมูลการโอนเงินให้ถูกต้องก่อนยืนยันการโอนเงินทุกครั้ง สิ่งที่ทุกคนจะต้องดู คือ หมายเลขบัญชีหรือหมายเลขพร้อมเพย์ ชื่อบัญชี ชื่อธนาคาร และจำนวนเงินให้ถูกต้องก่อนที่จะกดยืนยันการโอนเงินไป หากเกิดกรณีโอนเงินผิดขึ้นมาจริง ๆ ให้ตั้งสติ อย่าหลงเชื่อใครง่าย ๆ จนยอมโอนเงินกลับเอง และควรรีบปรึกษาธนาคารเพื่อให้ธนาคารแนะนำว่าต้องดำเนินการอย่างไรจะดีที่สุด
ทำอย่างไรเมื่อเกิดปัญหา ฝากไม่เข้า/ถอนไม่ออก/โอนไม่ไป
1. แจ้งปัญหาตามประเภทรายการ และนำส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้กับธนาคาร ตามที่ระบุด้านล่าง
- รายการฝากธนาคารเจ้าของเครื่อง
- รายการถอนธนาคารเจ้าของบัญชี
- รายการโอนธนาคารเจ้าของบัญชีผู้โอนางไรเมื่อเกิดปัญหา โอนไม่ไป ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
2. ธนาคารรับแจ้งปัญหา และแจ้งระยะเวลาในการดำเนินการ
3. ธนาคารแจ้งผลการตรวจสอบและ หากพบว่าเป็นความขัดข้องของเครื่องหรือระบบ ธนาคารจะแก้ไขโดย…
- รายการฝาก ปรับปรุงเข้าบัญชี
- ผู้รับฝาก รายการถอน คืนเงินเข้าบัญชี
- ผู้ถอน รายการโอน ปรับปรุงเข้าบัญชี ผู้รับโอน
4. หากไม่ยอมรับผลการตรวจสอบ สามารถส่งข้อมูล/หลักฐานเพิ่ม เพื่อให้ธนาคารทำการตรวจสอบเพิ่มเติม
เอกสาร/ หลักฐานที่ควรเตรียมเพื่อให้ธนาคารตรวจสอบ
- ข้อมูลที่สำคัญ (วัน /เวลา สถานที่ ประเภทของการทำรายการ จำนวนเงิน) หรือ ใบบันทึกรายการ (ถ้ามี)
- ชื่อบัญชี และเลขที่บัญชี/เลขประจำตัวประชาชน หรือเบอร์มือถือที่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ ของผู้ฝาก/ ถอน/ โอน และ ผู้รับฝาก/ ผู้รับโอน
- หมายเลขบัตร ATM/ เดบิต/ เครดิต/ บัตรกดเงินสด
- ข้อมูลอื่นๆ เช่น ภาพหน้าจอที่แสดงข้อความปัญหา หรือความผิดพลาด
ถ้าต้องการโอนเงินแต่ Mobile Banking ขัดข้องทำอย่างไร ?
บ่อยจนช้ำ สำหรับคนไทย กับกรณี “แอปฯ ธนาคารล่ม” Mobile Banking ของแบงก์ต่างๆ ระบบขัดข้องทำงานไม่ได้ เหตุการณ์ล่าสุด ก็คงเป็นความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นมาไม่นานนี้เอง 1 ก.ค.ที่ผ่านมา เมื่อแอปพลิเคชันของธนาคารทุกแห่ง พร้อมใจกันขัดข้อง เสียงโวยกระหึ่มโซเซียลมีเดีย พร้อมๆ กับความเดือดร้อน วุ่นวายที่เกิดขึ้น
ตั้งแต่ โอนเงินไม่ได้-โอนเงินไปแล้วไม่เข้า อีกทั้ง สแกนจ่าย และ รับเงิน ไม่ได้ ตั้งแต่ช่วงบ่ายลากถึงช่วงค่ำของวันเดียวกัน ซึ่งต่อมา สมาคมธนาคารไทย ได้มีการชี้แจงภายหลัง ว่าเกิดจาก ระบบพร้อมเพย์มีปัญหา ส่งผลต่อการทำธุรกรรมโอนเงิน/ชำระเงินผ่านบริการพร้อมเพย์ ทำให้ลูกค้าบางส่วนทำธุรกรรมไม่ได้หรือมีผลการทำธุรกรรมล่าช้า
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ว่านี่ไม่ใช่เหตุการณ์แรกๆ เพราะคนไทย เจอกับปัญหานี้บ่อยครั้ง โดยเฉพาะช่วงสิ้นเดือน ที่มีการทำธุรกรรมทางการเงินเป็นจำนวนมากพร้อมๆ กัน ส่งผลให้ปัญหา แบงก์ล่ม แอปฯ ธนาคารขัดข้อง เกิดขึ้นเป็นประจำ
ลูกค้ายังสามารถทำธุรกรรมได้ที่ตู้ ATM สาขาของธนาคาร หรือชำระที่ตัวแทนของธนาคารได้
ในช่วงที่ระบบอาจมีรายการโอนเงินจำนวนมาก และทำให้ระบบทำงานช้ากว่าปกติ โดยแนะเบื้องต้น กรณีที่ระบบขัดข้อง โอนเงินและไม่เข้าปลายทาง ผู้บริโภคอย่าเพิ่งกังวลใจ เพราะเงินจะเข้าบัญชีแน่นอน ซึ่งธนาคารจะนำเงินเข้าบัญชีภายใน 1 วัน ที่สำคัญการชำระเงินมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่เวลาที่ลูกค้าได้ชำระเงิน ไม่ต้องกังวลว่าจะชำระเงินล่าช้า
หลักฐานที่ควรเตรียมเพื่อให้ธนาคารตรวจสอบ
แม้เงินยังไม่ปรากฏที่บัญชีปลายทาง แต่เราสามารถตรวจสอบได้ง่ายๆ ว่าเงินถูกโอนมาเข้าบัญชีปลายทางแล้วหรือยัง ด้วยการสแกน QR code ที่สลิปโอนเงิน หรือ ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารนั้นๆ โดยตรง พร้อมเตรียมข้อมูลให้พร้อม เพื่อใช้ในการประสานงานแก้ไข ได้แก่
- เลขที่บัญชีผู้โอน
- ช่องทางการทำรายการ
- วันที่-เวลาที่ทำรายการ
- จำนวนเงิน
- โอนโดยระบบพร้อมเพย์ หรือเลขที่บัญชี
- ชื่อธนาคารผู้รับ
- หมายเลขบัญชีผู้รับเงิน
- ชื่อ-นามสกุล(ผู้โอน)
- หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ
รวมเบอร์ call center ธนาคาร
- ธนาคารกสิกรไทย โทร. 0-2888-8888 กด 001
- ธนาคารกรุงไทย โทร. 0-2111-1111 กด 108
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา โทร. 1572 กด 5
- ธนาคารกรุงเทพ โทร. 1333 หรือ 0-2645-5555 กด *3
- ธนาคารไทยพาณิชย์ โทร. 0-2777-7575
- ธนาคารทหารไทยธนชาต โทร. 1428 กด 03
- ธนาคารออมสิน โทร. 1115 กด 6
- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย โทร. 0-2626-7777 กด 00
ในกรณีที่ระบบขัดข้อง โอนเงินและไม่เข้าปลายทาง ไม่ต้องกังวลใจ เงินจะเข้าบัญชีแน่นอน โดยธนาคารจะนำเงินเข้าบัญชีภายใน 1 วัน ที่สำคัญการชำระเงินมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่เวลาที่ลูกค้าได้ชำระเงิน ไม่ต้องกังวลว่าจะชำระเงินล่าช้า
สถิติแอปฯ ธนาคารล่ม
จากสถิติข้อมูล แอปฯ ธนาคารล่ม ทั้งปี 2565 มีการพูดถึงกรณีดังกล่าว มากถึง 1,737,600 Engagement ขณะ ช่วงไตรมาสแรก ปี 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า ข้อมูลจากธนาคารทั้ง 20 แห่ง พบมี 3 ธนาคารที่มีระบบ Mobile Banking ขัดข้อง คือ
- ธนาคารกรุงเทพ Mobile Banking ขัดข้อง 1 ครั้ง (น้อยกว่า 1 ชั่วโมง )
- ธนาคารกรุงไทย Mobile Banking ขัดข้อง 1 ครั้ง (นาน 2 ชั่วโมง)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ Mobile Banking ขัดข้อง 2 ครั้ง (นาน 1 ชั่วโมง)
แม้เป็นสถิติที่ต่ำกว่าหลายๆ ช่วงก่อนหน้านี้ แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าว มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยๆ และอยู่นอกการควบคุมของผู้บริโภคอย่างเราๆ คำถามที่ต้องหาคำตอบให้เจอมากที่สุด คือ ถ้าแบงก์มาล่ม ขณะที่เรากำลังธุรกรรมทางการเงินอยู่นั้น จะรับมือและแก้ปัญหาอย่างไร?
บริการเช็คยอดโอนเงินจาก Thunder Solution
บริการเช็คยอดโอนเงินจาก Thunder Solution แม้เงินยังไม่ปรากฏที่บัญชีปลายทาง แต่ท่านสามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ ว่าเงินถูกโอนมาเข้าบัญชีปลายทางแล้วหรือยัง ด้วยการสแกน QR code ที่สลิปโอนเงิน หรือเพียงส่งเข้ามาในไลน์ OA หรือ ไลน์กลุ่มที่มีบอทของเรา ก็สามารถรู้ผลทันที ทั่งรวดเร็วและแม่นยำ แถมยังสามารถเก็บข้อมูลลเพื่อนำมาเช็คย้อนหลังได้อีกด้วย
แท็ก: กรุ, กรุงไทย, กสิกร, โอนเงินผิดบัญชี, โอนเงินผิดบัญชี ดึงคืนได้ไหม, โอนเงินผิดบัญชี ต้องแจ้ง ภายใน กี่วัน
หมวดหมู่: บทความ, วิธีใช้งาน
บทความที่เกี่ยวข้อง
รวมวิธีการจดทะเบียน Vat สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่
ผู้ประกอบการมือใหม่ฟังทางนี้ มาดูขั้นตอนการจดทะเบียน Vat และบอกรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องรู้ การจดภาษีมูลค่าเพิ่มใช้เอกสารอะไรบ้าง คุณสามารถหาคำตอบได้ที่นี่Read more
เรียนรู้เรื่องภาษีผู้ประกอบการ ต้องจ่ายภาษีอะไรบ้าง
เปิดคัมภีร์ผู้ประกอบการ 101 ภาษีผู้ประกอบการที่ต้องจ่าย มีอะไรบ้าง แนะนำคู่มือภาษีที่ทุกควรรู้ พร้อมแนวทางการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ประกอบการทุกคนRead more
เปิด 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ เพื่อเป็นนายตัวเอง
อยากเป็นเจ้านายตัวเอง (Self Employee) ทำไงดี? รวม 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ สำหรับคนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เหมาะมากสำหรับนักลงทุนมือใหม่Read more