ก่อนเปิดกิจการร้านอาหาร เจ้าของร้านอาหารต้องดำเนินการอะไรเป็นลำดับแรกกันนะ วันนี้เราจะเปิดตำรากฎหมายการเปิดร้านอาหารอย่างกระชับเข้าใจง่าย ให้ผู้ประกอบการได้จำไปเป็นแนวทางการเปิดร้านอาหารอย่างมีขั้นตอน จะเปิดร้านอะไรสำคัญที่สุด การขอใบอนุญาตในการเปิดร้านอาหารต้องทำอย่างไร กฎหมายที่ต้องใส่ใจมีอะไรบ้าง บทความนี้รวบรวมคำตอบมาให้แล้ว
7 ข้อกฎหมายการเปิดร้านอาหาร มีอะไรบ้าง
สำหรับกฎหมายการเปิดร้านอาหารนั้นที่สำคัญๆ มีอยู่ 7 ข้อที่เจ้าของร้านต้องใส่ใจเป็นพิเศษ ขึ้นชื่อว่ากฎหมายต้องมีรายละเอียดค่อนข้างมาก เราสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ดังนี้
1. การจัดตั้งธุรกิจ
หากคุณไม่ได้เปิดร้านอาหารแบบหาบเร่ แผงลอยหรือสตรีมฟู้ดต้องรู้! ก่อนจะเปิดร้านอาหารต้องจัดตั้งธุรกิจให้ถูกต้องตามกระบวนกฎหมายการเปิดร้านอาหาร สำหรับร้านอาหารที่มีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาก็สามารถยื่นเรื่องจัดตั้งได้ด้วย “ทะเบียนพาณิชย์” แต่สำหรับร้านที่เป็นเจ้าของโดยนิติบุคคลต้องจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้เรียบร้อย
2. การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจร้านอาหาร
หากร้านอาหารที่ต้องการเปิด มีพื้นที่ 200 ตารางเมตรขึ้นไปเจ้าของร้านหรือตัวแทนนิติบุคคลต้องไปขอใบอนุญาตการเปิดร้านอาหารจากหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นของตัวเอง ให้ออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจให้ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
- ใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารในกรณีที่เปิดร้านอาหารในอาคาร
- ใบอนุญาตจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะในกรณีที่ต้องการเปิดร้านอาหารบริเวณริมทางหรือที่ทางสาธารณะ
3. การจัดเตรียมสถานที่
การตัดเตรียมสถานที่ให้ถูกต้องตามกฎหมายการเปิดร้านอาหารนั้นต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาหารซึ่งมีกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวข้องตั้งแต่ประเภทของอาหาร ประเภทของภาชนะ การจ้างงานของบุคลากรในร้านและเรื่องระบบร้านอื่นๆ เพื่อให้ถูกต้องตามที่กระทรวงสุขลักษณะกำหนด กรณีที่เป็นร้านเล็กๆ หรือสตรีทฟู้ดต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าพื้นที่ที่ต้องการเปิดร้านนั้นอยู่ในเขตพื้นที่ผ่อนผันหรือไม่ สามารถตรวจสอบด้วยตัวเองได้ที่พื้นที่ราชการนั้นๆ นอกจากนั้นต้องจัดเตรียมระบบต่างๆ ภายในร้านอย่างถูกต้อง ตั้งแต่รับออเดอร์ไปจนถึงการชำระเงิน ระบบตรวจสอบสลิปโอนเงิน เป็นต้นเพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ ในกรณีที่รายได้ของร้านถึงเกณฑ์เสียภาษี
4. การจัดเตรียมอาหาร
ขอใบอนุญาตการเปิดร้านอาหารเรียบร้อยแล้ว การจัดเตรียมอาหารเป็นเรื่องต่อมาที่เจ้าของกิจการร้านอาหารต้องเริ่มดำเนินการ ไม่ใช่เพิ่งแค่อาหารเท่านั้น เครื่องดื่มต่างๆ ก็ต้องศึกษากฎหมายในการจำหน่ายอย่างละเอียดด้วย อาหารที่ทำในร้านต้องถูกสุขลักษณะที่ทางกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารกำหนดไว้ ถ้ามั่นใจว่าร้านใช้วัตถุดิบที่ดี ใช้อุปกรณ์ในการประกอบอาหารถูกต้อง ใส่ใจในวิธีการทำอาหารก็ไม่ต้องกังวลกฎหมายการเปิดร้านอาหารข้อนี้เลย
5. การจัดเตรียมบุคลากรในร้านอาหาร
สำหรับกฎหมายการเปิดร้านอาหารข้อนี้จะมีประมวลกฎหมายแรงงานเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย หากที่ร้านมีการขึ้นทะเบียนพาณิชย์แล้วการจ้างงานต้องมีสวัสดิการตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดตั้งแต่ ค่าจ้าง วันทำงาน วันหยุด วันลา รวมไปถึงเอกสารการทำงานอื่นๆ ในกรณีที่พนักงานเป็นคนสัญชาติอื่นด้วย และการหาบุคลากรมาประจำในร้านอาหารนอกจากจะต้องมีกฎหมายการเปิดร้านอาหารแล้วและกฎหมายแรงงานแล้ว เจ้าของร้านต้องวางแผนการใช้คนให้สมเหตุสมผลกับงานในร้าน ให้ถูกหน้าที่เพื่อให้การเปิดร้านอาหารเดินหน้าได้อย่างราบรื่นในทุกๆ วัน รวมทั้งมีการส่งบุคลากรเข้าอบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหารจากกรมอนามัยอย่างถูกต้องด้วย
6. การคุ้มครองผู้บริโภค
กฎหมายการเปิดร้านอาหารมีข้อกำหนดชัดเจนในส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภค คือ ต้องไม่ผลิตอาหารที่เป็นอันตรายแก้ผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ทำจากวัตถุดิบที่ไม่มีคุณภาพ ราคาของเมนูอาหารไม่แพงเกินกว่ากฎหมายกำหนด รวมไปถึงสิทธิอื่นๆ ของผู้บริโภคจะได้รับ การโฆษณาต้องไม่เกินจริง สิทธิที่จะได้รับการชดเชยเมื่อเกิดความเสียหายของผู้บริโภค เป็นต้น
7. ภาษีเงินได้
กฎหมายการเปิดร้านอาหารกำหนดไว้ว่าร้านอาหารที่มีรายได้ต่อปีเกิน 1.8 ล้านบาทต้องขึ้นทะเบียนเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและอาจจะมีภาษีอื่นๆ ที่ต้องชำระด้วย แน่นอนว่าการเสียภาษีเป็นเรื่องที่จะละเลยไม่ได้ ต้องศึกษาเกี่ยวกับอัตราภาษี ประเภทภาษีที่เกี่ยวกับร้านอาหาร รายการที่สามารถใช้ในการลดหย่อน จะให้ดีต้องวางแผนภาษีให้ดีและต้องเตือนตัวเองเสมอว่าต้องทำการยื่นและชำระทุกปีตามเวลาที่กำหนดจะได้ไม่ต้องเสียค่าปรับในกรณีที่จ่ายภาษีล่าช้า
สรุปบทความ
รู้แล้วใช่ไหมว่าก่อนเปิดกิจการร้านอาหาร เจ้าของร้านอาหารต้องดำเนินการอะไรเป็นลำดับแรก รู้แล้วก็วางแผนได้เลยว่าต้องจดทะเบียนอย่างไร ขอใบอนุญาตอย่างไร ถ้าไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ให้ติดต่อที่หน่วยราชการส่วนท้องถิ่นพื้นที่ที่ต้องการเปิดร้านอาหารเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมายการเปิดร้านอาหารที่ถูกต้อง และอย่าลืมใส่ใจในคุณภาพของอาหาร เครื่องดื่ม อุปกรณ์ให้ถูกสุขลักษณะเท่านี้ธุรกิจร้านอาหารของคุณก็สามารถดำเนินไปด้วยดีแล้ว
แท็ก:
หมวดหมู่: บทความ
บทความที่เกี่ยวข้อง
รวมวิธีการจดทะเบียน Vat สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่
ผู้ประกอบการมือใหม่ฟังทางนี้ มาดูขั้นตอนการจดทะเบียน Vat และบอกรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องรู้ การจดภาษีมูลค่าเพิ่มใช้เอกสารอะไรบ้าง คุณสามารถหาคำตอบได้ที่นี่Read more
เรียนรู้เรื่องภาษีผู้ประกอบการ ต้องจ่ายภาษีอะไรบ้าง
เปิดคัมภีร์ผู้ประกอบการ 101 ภาษีผู้ประกอบการที่ต้องจ่าย มีอะไรบ้าง แนะนำคู่มือภาษีที่ทุกควรรู้ พร้อมแนวทางการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ประกอบการทุกคนRead more
เปิด 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ เพื่อเป็นนายตัวเอง
อยากเป็นเจ้านายตัวเอง (Self Employee) ทำไงดี? รวม 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ สำหรับคนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เหมาะมากสำหรับนักลงทุนมือใหม่Read more