รวมเรื่องที่ต้องรู้และข้อควรระวังสำหรับ Startup มือใหม่

startup มือใหม่

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากรู้ความเป็นมาของคำว่า startup ไปจนถึงแนวทางในการเริ่มต้นทำธุรกิจ และรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำยอดฮิตดังกล่าวที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยินในปัจจุบัน เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจในเรื่องของstartup

ในโลกที่อะไรๆ ก็มุ่งไปสู่ความเป็น digital จนทำให้หลายคนมีไอเดีย อยากทำธุรกิจstartup ที่ต่างออกไปจากธุรกิจแบบเดิม ซึ่งก็มีคำถามตามมาว่า “startup” คือคำที่ถูกพูดถึงในหมู่คนรุ่นใหม่รวมถึงบรรดานักธุรกิจนั้น แท้จริงแล้วคำว่า Startup คืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร ทำไมคำนี้ถึงเป็นคำยอดฮิตในหมู่ของธุรกิจ หากคุณยังไม่รู้ และเป็นคนหนึ่งที่อยากรู้ความเป็นมาของคำว่า สา เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจในเรื่อง การทำสาร์ทอัพ ผ่านบทความนี้เอง

ทำความรู้จักกับธุรกิจ Startup

startup

startup คือ ผู้ประกอบธุรกิจที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ และเน้นการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหรือความต้องการของตลาดโดยนำเสนอผลิตใหม่ๆ หรือกระบวนการให้บริการแบบใหม่ ที่เรียกว่าเป็น Innovation สตาร์ทอัพเหมือนเป็นบริษัทเล็กๆ ที่อาจมีเจ้าของคนเดียวหรือทำธุรกิจในรูปแบบ partnership ที่ถูกออกแบบให้เติบโตเร็วและสามารถลดหรือขยายขนาดได้ง่าย เรามักคุ้นเคยกับสตาร์ทอัพที่นำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ใช้เทคโนโลยีเสียเป็นส่วนมาก นั่นเป็นเพราะสตาร์ทอัพส่วนใหญ่จะเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด โดยเฉพาะใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆ เช่น internet, e-commerce, telecommunications หรือ robotics เพื่อทำให้สินค้าหรือบริการตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคใหม่มากขึ้น โดยกระบวนการจะเน้นการวิจัย การออกแบบ การทดลอง และการตรวจสอบยืนยันว่า innovation หรือสมมติฐานนั้นๆ สามารถใช้งานได้จริง

สตาร์ทอัพ ที่เกิดขึ้นมากมายในปัจจุบัน จะพบว่าส่วนใหญ่มุ่งเน้นการทำธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของตลาดด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ที่นำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้ชีวิตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น อีคอมเมิร์ซ การสื่อสาร การแพทย์ และความบันเทิง ที่ได้เข้ามาอำนวยความสะดวกและสร้างพฤติกรรมใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค 

อยากทำธุรกิจ Startup ต้องเริ่มต้นอย่างไร?

1.จังหวะเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญ (Timing)

ดังคำกล่าวที่ว่า “อยู่ถูกที่ ถูกเวลา” จากสถิติที่ผ่านมาพบว่า ปัจจัยหลักที่สตาร์ทอัพหลายแห่งจะประสบผลสำเร็จ นั้นคือจังหวะเวลา แม้ว่าคุณจะมีไอเดียที่ดีแต่การนำเสนอสิ่งนั้นในจังหวะที่ผู้บริโภคไม่พร้อมที่จะรับหรือ อาจจะยังตอบโจทย์ได้ไม่ตรงใจก็อาจจะไม่ได้รับผลตอบลัพธ์ที่ดี ลูกค้านั้นอาจทำให้ช่วงเปิดตัวของเราไม่เป็นกระแสหรือเป็นที่สนใจของลูกค้าได้ครับ แต่ถ้าคุณสามารถประเมินจังหวะและเวลาได้ดีก็มีโอกาสทำให้ธุรกิจเติบโตยิ่งขึ้น

2.มองภาพใหญ่ วางแผนธุรกิจให้ชัดเจน (Business Model)

กล่าวคือ เราควรมองภาพใหญ่ มองการณ์ไกลและตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน และเริ่มคิดว่าธุรกิจสามารถต่อยอดเป็นอะไรได้บ้าง ควรมองหาโอกาสที่จะขยายเติบโตและดูฐานลูกค้าที่อาจจะต้องมีมากพอให้ธุรกิจไปต่อได้ ทางที่ดีการวางแผนธุรกิจควรชัดเจนและไม่ซับซ้อน

3.เข้าใจลูกค้าของคุณ (Customers)

จากที่กล่าวมาจากข้อข้างต้นสตาร์ทอัพ ต้องทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย ทางที่ดีหากธุรกิจสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าสะดวกขึ้นได้ โดยที่ไม่เข้าไปเปลี่ยนพฤติกรรมลูกค้ามากจนเกินไป ซึ่งปัญหาที่พบเจอทั่วไปคือสิ่งที่ Startup พัฒนาขึ้นมาไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า หรือ เปลี่ยนวิธีการทำงานขององค์กร ส่งผลให้ในที่สุดไม่สามารถขายได้

4.มีทีมที่ดี (Team)

ทุกคนที่อยู่ในองค์กรต้องมีแนวคิดที่เป็นไปในทางเดียวกันคือ ความสำเร็จของทีม คือความสำเร็จของธุรกิจ และความล้มเหลวของทีม ก็คือความล้มเหลวของธุรกิจด้วยเช่นกัน ซึ่งผู้ประกอบการมือใหม่จะจัดการเรื่องเหล่านี้ได้ไม่ดีนัก การให้สมาชิกในทีมเป็นหุ้นส่วน จึงเป็นหลักประกันที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้ทีมยอมร่วมหัวจมท้ายและโฟกัสกับธุรกิจ

5.ไอเดียธุรกิจ (Idea)

แน่นอนว่าการโฟกัส เลือกทำเฉพาะสิ่งที่จะส่งผลต่อความก้าวหน้าและจำเป็นกับธุรกิจมากที่สุด และทำมันออกมาให้ดี ย่อมดีกว่ามุ่งทำให้มันออกมาสมบูรณ์แบบเลยทีเดียวซึ่งเป็นไปได้ยากและใช้เวลานาน หลายครั้งการเพิ่มไอเดียธุรกิจมาเยอะจนเกินไป จะทำให้เกิดความสับสนว่าจริงๆแล้ว จุดประสงค์หลักของธุรกิจคืออะไร หรืออาจจะทำให้เราลงมือช้าจนเกินไปทำให้ Timing เราเสียได้ดังนั้น ให้ทำออกมาให้ดีและออกสู่ตลาดให้เร็ว เน้นการเรียนรู้จาก feedback นำไปปรับปรุงจะดีกว่า

โครงสร้างของธุรกิจ Startup

โครงสร้าง startup

โครงสร้างทางธุรกิจของ Startup อาจดูคล้ายกับธุรกิจทั่วไป แต่สิ่งสำคัญที่ทำให้สตาร์ทอัพ แตกต่างจากธุรกิจทั่วไปและได้รับความสนใจในการลงทุนมากกว่าคือ ความสามารถในการสร้างความโดดเด่นทางธุรกิจ ซึ่งสามารถสะท้อนมาจากปัจจัยต่างๆเหล่านี้

Business model: ถือเป็นหัวใจสำคัญของ สตาร์อัพ แผนธุรกิจที่ควรค่าแก่การลงทุนจะต้องแสดงให้เห็นถึงจุดเด่นของสินค้าและบริการ วิธีการในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมถึงกลยุทธ์ที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และสร้างความสามารถในการแข่งขันเหนือคู่แข่งรายอื่น

Market: ธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้ก็ด้วยการตอบรับของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ฉะนั้นยิ่งตลาดมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าไหร่ มีการตอบรับที่ดีต่อสินค้าหรือบริการที่นำเสนอมากเพียงใด จะแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างรายได้และผลตอบแทนมากขึ้นเท่านั้น

Future plan: ธุรกิจควรจะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและก้าวกระโดดในอนาคต ซึ่งอาจเป็นการคาดการณ์การขยายตลาดไปยังตลาดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีแผนการบริหารการลงทุนและการเงินที่ชัดเจนเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถประเมินผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุน

Management team: ทีมผู้บริหารเปรียบเสมือนหัวเรือในการนำธุรกิจไปในทิศทางที่ต้องการ ยิ่งผู้บริหารมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสินค้าและบริการ และเข้าใจตลาดมากเพียงใด ย่อมแสดงให้เห็นถึงแรงผลักดันที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้มากขึ้นเท่านั้น

ประเภทของธุรกิจ startup

1. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเกษตรและอาหาร (AgriTech & FoodTech)

Agritech การทำให้การเกษตรนั้นสะดวกรวดเร็วง่ายขึ้น ช่วยเหลือให้ชาวเกษตรกรนั้นมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น บางบริษัทก็เริ่มการทดลองนำโดรน ในการบินเพื่อลดน้ำพืช ผัก หรือการใส่ปุ๋ย เพื่อลดการใช้แรงงาน นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายมากขึ้น

2. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการศึกษา (EdTech & GovTech)

education tech

ธุรกิจสตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับการศึกษา อีกหนึ่งกลุ่มประเภทธุรกิจที่ได้รับความนิยม เนื่องจากคนยุคใหม่หันมาสนใจในเรื่องของการศึกษาหาความรู้ในด้านต่าง ๆ เพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการเลือกคอร์สเรียนออนไลน์ต่าง ๆ ที่เหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ทำให้กลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพเกี่ยวกับการศึกษานั้นเติบโตมากยิ่งขึ้น ทั้งรูปแบบการเรียนผ่านเว็บไซต์ การเรียนผ่าน แอปพลิเคชัน การเรียนผ่านสื่อออนไลน์อย่างช่องทาง Youtube และ Facebook ก็ได้รับความนิยมไม่น้อย

4. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านอสังหาริมทรัพย์ (PropertyTech)

Proptech Startup เกี่ยวกับอสังหริมทรัพย์ อาจจะเป็น application ที่นำเสนอหาห้องประชุมหรือการทำ co-working space ให้กับผู้กำลังมองหาสถานที่ในการทำงานแต่ไม่อยากจะเช่าออฟฟิศ

5. ธุรกิจสตาร์ทอัพที่เกี่ยวธุรกิจสตาร์ทอัพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว และความบันเทิง 

ถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจสตาร์ทอัพในปีนี้ที่ได้รับความนิยมในปี 2023 อย่างแน่นอน สำหรับการท่องเที่ยวและความบันเทิง เนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัวสำหรับหลายคน อีกทั้งรูปแบบของการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะมีแนวโน้มกลับมาตื่นตัวมากยิ่งขึ้น เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน ที่พักโรงแรม ร้านอาหาร หรือจองบัตรเข้าสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ เป็นต้น 

Traveltech เป็นตัวช่วยให้กับนักเดินทางที่การท่องเที่ยวไปในประเทศต่างๆ เดินทางได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น อย่าง Airbnb ก็ถือเป็นตัวช่วยสำหรับนักเดินทางที่ต้องการไปพักผ่อนในย่านท่องเที่ยวแต่ด้วยงบที่จำกัด Airbnb ก็ค่อนข้างตอบโจทย์ที่นำบ้านพักที่ผู้ปล่อยเช่าในราคาไม่แพงมาให้นักท่องเที่ยวที่อาจจะมีงบไม่พอเพื่อเข้าพักได้

6. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเข้าถึงสินค้า (E-Commerce & Logistics)

ในปัจจุบันแนวโน้มการทำธุรกิจประเภท E-Commerce ในประเทศไทยกำลังได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น เพราะในยุคนี้ผู้คนสามารถเข้าถึงสมาร์ทโฟนและอินเทอร์เน็ต รวมถึงช่องทางออนไลน์ได้มากยิ่งขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายสินค้าออนไลน์ต่าง ๆ ที่ผู้ทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน หรือแหล่งที่ตั้งการสามารถเลือกขายสินค้าต่าง ๆ ได้ อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะมีความเติบโตมากยิ่งขึ้นอย่างมาก จากการขยายตัวของผู้ให้บริการหลากหลาย อาทิ Lazada Shopee เป็นต้น

7. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเงิน (FinTech) และด้านการให้บริการสำหรับธุรกิจ (Service Enhancement)

Fintech Startup ที่ว่าด้วยเหลือของการเงิน เข้ามาช่วยเหลือให้การทำธุรกิจเกี่ยวกับเงินของเรานั้นสะดวกขึ้น ถ้าดังๆเลยในปัจจุบันก็จะเป็น bitkub ที่ถือเป็นด้าน Fintech ที่นำ bitcoin เข้ามาในประเทศไทยและทำให้เป็นที่รู้จักเป็นอย่างมาก 

ตรวจสลิปผ่านไลน์

Service  Enchanment ก็เป็นอีกธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมากในโลกของธุรกิจ เนื่องจากบริการประเภทนี้จะเข้ามาช่วยตรวจสอบ ดูแลด้านการเงินเสมือนเป็นการ์ดดูแลหน้าบ้านคุณเลยที่เดียว อย่างบริการของ Thunder Solution ผู้ให้บริการ AI ตรวจสอบสลิปโอนเงินอัตโนมัติผ่านไลน์ ที่ช่วยตรวจสอบสลิปโอนเงินให้กับเหล่าพ่อค้าแม่ค้า ร้านค้า ร้านอาหารต่างๆ ตลอดจนธุรกิจและบริการต่างๆ เพื่อไม่ให้เจอกับปัญหาของสลิปปลอม ในยุคที่มีมิจฉาชีพระบาดแบบนี้

8. ธุรกิจสตาร์ทอัพด้านสุขภาพ (HealthTech)

Healthtech นวัตกรรมที่ช่วยให้คนเข้าถึงการรักษาในง่ายขึ้นอย่างของเมืองไทยก็จะมีของประกันเจ้านึงที่มี application ที่สามารถให้เรานั้น นัดคุยกับแพทย์ผ่าน video call ได้เลย และสามารถสั่งยาผ่านช่องทางออนไลน์ได้ โดยที่ไม่ต้องเดินทางฝ่ารถติดไปหาหมอ เพื่อทำการวินิจฉัยโรค เพราะบางครั้งเราอาจจะเป็นเพียงเล็กน้อย และแน่นอนในตอนนี้ถือว่าเสี่ยงมากในการเดินทางเข้าไปยังโรงพยาบาล

ข้อควรระวังสำหรับการทำ Startup

การประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจไม่ได้เกิดเพียงชั่วข้ามคืน หากแต่ต้องอาศัยระยะเวลาในการทำงานหนัก รวมทั้งต้องฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดระหว่างการทำธุรกิจไปให้ได้  และต่อไปนี้คือข้อควรระวังที่มักเกิดกับผู้ประกอบการมือใหม่ ซึ่งหากแก้ไขไม่ทันท่วงทีอาจทำให้ธุรกิจล้มได้ โดยที่เรานั้นได้รวบรวมข้อระวังต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้พร้อมวิธีการแก้ไขปัญหามาให้ โดยหลักๆแล้วข้อควรระวังสำหรับStartup มือใหม่ มีดังนี้

1.ไม่มีเงินสดสำรอง 

เหตุผลหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กปิดตัวลงภายในระยะเวลาไม่นานของการทำธุรกิจ เป็นเพราะขาดเงินสดสำรองไว้ใช้ยามฉุกเฉิน เพราะในช่วงแรกของการทำธุรกิจ ผู้ประกอบการมักสูญเงินไปกับการสนับสนุนธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ 

การแก้ไขปัญหา : 

ควรตั้งกองทุนเงินสดสำรองไว้ใช้ยามที่ธุรกิจประสบเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ซึ่งเงินสดสำรองนี้จะช่วยต่ออายุของธุรกิจ และช่วยลดความกดดันในเรื่องสภาพคล่องของธุรกิจ

2.ใช้สมมุตฐานในแง่ดีเกินไประหว่างการวางแผนธุรกิจ 

มีผู้ประกอบการมือใหม่จำนวนไม่น้อยที่ตกอยู่ในกับดักนี้ เพราะต่างเชื่อความคิดของตนเอง เพื่อน และคนในครอบครัวว่าการทำธุรกิจเป็นเรื่องง่าย โดยหารู้ไหมว่า จริงๆ แล้วการทำธุรกิจนั้นต้องต่อสู้และแข่งขัน ซึ่งไม่ใช่เกมที่เล่นไปเรื่อยๆ ถ้าแพ้ก็เริ่มต้นเล่นใหม่

การแก้ไขปัญหา : 

ผู้ประกอบการควรเปิดโอกาสให้คนที่มีประสบการณ์ด้านการทำธุรกิจช่วยวิพากษ์วิจารณ์แผนและไอเดียในการทำธุรกิจที่วางไว้ เพื่อช่วยให้เห็นช่องโหว่ของธุรกิจและทำให้รู้ว่าควรอุดช่องโหว่เหล่านั้นอย่างไร

3.ทำทุกอย่างด้วยตนเองเพื่อประหยัดเงิน 

การประหยัดเงินด้วยการลงมือทำทุกอย่างเองนั้นจะทำให้เกิดความทุกข์มากกว่าความสุขในการทำธุรกิจ เพราะไม่มีใครที่เชี่ยวชาญไปหมดทุกเรื่อง อีกทั้งยังส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่สามารถทำธุรกิจได้อย่างเต็มความสามารถ เพราะต้องวิ่งวุ่นทำสารพัดสิ่งเพียงคนเดียว

การแก้ไขปัญหา : 

ผู้ประกอบการควรลงมือทำอย่างเต็มที่ในสิ่งที่ตนถนัด และจ้างงานผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ มาช่วยงาน เช่น การพัฒนาเว็บไซต์ หรือการประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.ตั้งราคาสินค้าต่ำหรือสูงเกินไป 

เพราะต้องการให้สินค้าเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ผู้ประกอบการมือใหม่จึงตั้งราคาสินค้าต่ำไว้ก่อน จนทำให้สินค้าดูไม่มีคุณค่า และอีกกรณีที่ผู้ประกอบการต้องการให้สินค้าดูมีคุณค่ากว่าคู่แข่งก็เลือกตั้งราคาสูงไว้ก่อน จนบางครั้งราคาที่ตั้งนั้นอาจสูงจนไม่มีใครกล้าซื้อ

การแก้ไขปัญหา : 

ควรสำรวจราคาสินค้าของคู่แข่งว่าเป็นอย่างไร และสำรวจกำลังซื้อของผู้บริโภคว่ามีมากน้อยเพียงใด จากนั้นกำหนดราคาที่อยู่ในเกณฑ์ที่ลูกค้าสามารถซื้อได้และธุรกิจไม่ขาดทุน

สรุป

จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า Startup นั้น ถือว่าเป็นการธุรกิจอีกประเภทนึง ที่ต้องอาศัยความมุ่งมั่นและตั้งใจเป็นอย่างมาก ส่วนใครที่สนใจอยากจะทำธุรกิจ ก็ลองดูว่าจากประเภทที่เรากล่าวมาข้างต้นนั้นมีอะไรที่ตรงกับไอเดียของเราบ้าง และ สิ่งที่เราจะทำนั้นตอบโจทย์กับคนหมู่มากหรือไม่ หรือแค่เฉพาะเรา เพราะเราต้องคำนึงถึงการไปขอเงินจากนักลงทุนอีก แน่นอนนักลงทุนย่อมมองถึงความเสี่ยงและความคุ้มค่าของการลงทุน ถ้าตลาดเรามีกลุ่มลูกค้าไม่มากพอก็อาจจะไม่ได้รับความสนใจการลงทุนก็เป็นได้

แท็ก:

หมวดหมู่: บทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง