สารบัญเนื้อหา
- เตือนภัย ออนไลน์ ระวังโดนหลอก ผ่านแอปกู้เงินเถื่อน
- ลักษณะของแอปฯ และระบบการกู้เงินเถื่อนในโลกออนไลน์
- จะเกิดอะไรขึ้น หากหลงไปกู้เงินกับแอปฯ และช่องทางเถื่อนเหล่านี้?
- ป้องกันและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งกู้เงินอย่างไร?
- กลโกงจากการหลอกให้กู้เงินผ่านช่องทางออนไลน์
- วิธีป้องกัน การตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน
- บทความที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับกลโกงออนไลน์
เตือนภัยออนไลน์ มิจฉาชีพหลอกให้กู้เงิน ผ่านแอปกู้เงินปลอม
“มิจฉาชีพ” มีทุกรูปแบบ โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ เช่นนี้ที่คนส่วนใหญ่เริ่มมองหาตัวช่วยทางการเงินและแหล่งเงินกู้ เพื่อนำเงินไปหมุนเวียนค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิตหรือธุรกิจต่างๆ ซึ่งพวกมิจฉาชีพเหล่านี้จะมีวิธีการหลากหลายในการหลอกลวง เช่น การแอบอ้างเป็นผู้ให้บริการเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยราคาถูก ผ่านช่องทางโซเชียลและออนไลน์อย่าง SMS โดนหลอกให้โอนเงินทางไลน์ โดนหลอกให้โอนเงินทางเฟซบุ๊ค Shopee แอปเงินกู้ และsms Call Center หรือแม้แต่การสร้างสร้างสลิปปลอมขึ้นมา ล่าสุดมีข่าว เตือนภัยออนไลน์ จากการระบาดหนักของแอปกู้เงินเถื่อนขึ้นมา หลอกกู้เงินให้แก่คนที่รู้ไม่เท่าทันจนทำให้อาจเป็นหนี้โดยไม่รู้ตัว
ทาง Thunder ได้ทำการรวบรวมพฤติกรรมของเหล่ามิจฉาชีพที่หลอกให้โอนเงิน หลอกให้กู้เงินผ่านแอปปลอม หรือหลอกปล่อยเงินกู้ผ่านทางช่องทางออนไลน์ต่างๆ เพื่อเป็นการเตือนภัยออนไลน์ล่วงหน้า ว่ามักจะใช้กลลวงอะไร และเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อเรามาดูกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง และมีวิธีการป้องกันหลอกโอนเงินทางไลน์ ให้ชาวสายฟ้าของเราอีกด้วย
เตือนภัย แอปปลอม ออนไลน์ ระวังโดนหลอก ผ่านแอปกู้เงินเถื่อน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหลายอาชีพ และหลายครอบครัวต้องเผชิญกับปัญหาทางการเงินจนต้องหยิบยืมเงินจากญาติมิตรคนสนิท หรือกู้เงินจากช่องทางต่าง ๆ ไม่เว้นแต่ละวัน ซึ่งนอกเหนือจากสถาบันการเงินแล้ว คนจำนวนไม่น้อยต่างหันหน้าไปพึ่งการกู้เงินด่วนแบบออนไลน์ตามแอปพลิเคชันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก ไลน์ รวมถึงแอปพลิเคชันกู้เงินที่สามารถปล่อยเงินกู้ง่ายเพราะมีเงื่อนไขน้อย โอนเงินให้ได้ในทันที ซึ่งเราอยากมาแจ้งขjาวสารเตือนภัยออนไลน์ ถึงจะมีรูปแบบการได้เงินที่สะดวกสบายมากเพียงใด แต่ในทางกลับกัน แอปปลอมฯ เหล่านี้ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เหล่ามิจฉาชีพสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกให้เป็นหนี้ และล้วงข้อมูลเพื่อไปใช้ในทางผิดกฎหมาย
รู้ทันแอปฯ กู้เงินเถื่อน และช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ของมิจฉาชีพ
ถึงจะเป็นทางเลือกที่กฎหมายไม่ครอบคลุม และไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นมา แต่ก็ปฏิเสธได้ยากว่า “เงินกู้นอกระบบ” ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงเมื่อเวลามีปัญหาทางการเงิน เพราะนอกจากจะได้เงินไว ไม่ต้องรออนุมัติแล้ว หลาย ๆ คนยังเชื่อว่าการกู้เงินนอกระบบจะสามารถช่วยให้ผู้ที่ไม่มีเครดิตทางการเงิน หรือผู้ไม่มีหลักประกัน สามารถมีเงินมาใช้จ่ายได้แม้จะมีดอกเบี้ยที่สูง และรู้ว่าจะมีการทวงหนี้รายวันที่โหดสุด ๆ ก็ตาม
ลักษณะของแอปฯ และระบบการกู้เงินเถื่อนในโลกออนไลน์
โดยในปัจจุบันนี้ เงินกู้นอกระบบนั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่การขอยืมจาก “ผู้ปล่อยดอก” หรือ “แก๊งกู้เงินและทวงหนี้โหด”เหมือนในสมัยก่อน แต่ได้พัฒนาไปไกลถึงโลกออนไลน์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน โดยมิจฉาชีพจะทำการพัฒนาระบบการกู้เงินที่มีระดับความซับซ้อนแตกต่างกันไป โดยที่พบเห็นได้บ่อย ๆ จะมีด้วยกัน 3 ประเภท ดังนี้
บางเจ้าอาจเป็นการทักไลน์ หรือเฟซบุ๊กปลอม แอปปลอม พื่อเสนอให้เรากู้เงิน โดยอาจมีเงื่อนไขการกู้ที่ค่อนข้างง่าย ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์หรือคนในการค้ำประกัน ต้องโอนเงินให้ก่อนเพื่อดำเนินธุรกรรม
เงินกู้นอกระบบบางแห่งอาจสร้างแอปพลิเคชันให้เราดาวน์โหลดมายังโทรศัพท์ จากนั้นก็ให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดเพื่อดำเนินการกู้เงิน
บางแห่งอาจได้พัฒนาระบบที่สามารถหลอกให้เราเป็นหนี้ได้ตั้งแต่การคลิกเข้าลิงก์ครั้งแรก โดยเงินกู้ผิดกฎหมายนี้มักจะส่ง SMS มายังเบอร์โทรศัพท์ของเรา และเมื่อคลิกและยินยอมให้ระบบเข้ามือถือได้ ตัวระบบจะดำเนินการดังต่อไปนี้
ล้วงข้อมูลตั้งแต่รายชื่อผู้ติดต่อในโทรศัพท์ ข้อมูลในแอปฯ ต่าง ๆ เช่น แอปฯ ธนาคาร และแอปฯ โซเชียลมีเดีย รวมไปถึงข้อมูลของตัวเครื่องที่มักมีข้อมูลบัตรประชาชนที่สามารถพาไปยังข้อมูลต่าง ๆ ได้อีกมากมาย
บังคับให้เรากู้เงินตามจำนวนที่ระบุไว้ใน SMS หรือจำนวนที่เรากรอกไว้ทันทีโดยไม่สามารถยกเลิกได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ระบบจะโอนเงินให้ไม่เต็มจำนวน แต่จะมีการบังคับจ่ายหนี้ตั้งแต่วันแรกที่โอนเงินให้
จะเกิดอะไรขึ้น หากหลงไปกู้เงินกับแอปฯ และช่องทางเถื่อนเหล่านี้?
การกู้เงินจากแอปฯ และระบบเถื่อนนี้ นอกจากจะมีดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแล้ว ระบบต่าง ๆ นี้ก็ยังมาพร้อมกับการขู่กรรโชก รวมถึงผลเสียที่แตกต่างกันออกไปในแต่เคส เช่น
· จ้างแก๊งทวงหนี้มาระราน ขู่ หรือถึงขั้นทำร้ายร่างกาย และทรัพย์สินถึงที่บ้านและที่ทำงาน
· ขู่นำข้อมูลที่ได้จากโทรศัพท์ไปใช้ในทางผิดกฎหมาย ผู้เสียหายบางรายอาจโดนบังคับให้ส่งรูปโป๊เปลือยเพื่อแลกกับการส่งดอกเบี้ย ซึ่งพวกมิจฉาชีพจะนำรูปเหล่านี้ไปขาย หรือลงในเว็บที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมเพื่อเป็นการประจานต่อ
· นำข้อมูลไปขายให้กับแอปฯ เถื่อนลักษณะเดียวกัน หรือส่งต่อให้แอปฯ เถื่อนในเครือข่ายเพื่อหลอกให้เราเป็นหนี้เพิ่ม หรือคุกคามบุคคลที่สามที่ไม่เกี่ยวข้องต่อไป
· และไม่ว่าจะติดต่อเราได้หรือไม่ หรือเราจะจ่ายหนี้ครบแล้วหรือเปล่า มิจฉาชีพเหล่านี้ก็จะติดต่อบุคคลที่สามตามข้อมูลในโทรศัพท์ เพื่อหลอกว่าเราได้นำบุคคลเหล่านี้ไปค้ำประกัน และหลอกให้บุคคลอื่น ๆ ต้องใช้หนี้แทนโดยการบังคับสมัครแอปฯ หรือใช้แก๊งทวงหนี้ไปข่มขู่ถึงหน้าบ้าน โดยแอดมินเพจ Anti หมวกกันน็อค Online ที่คอยช่วยเหลือผู้ตกเป็นเหยื่อระบุว่า มิจฉาชีพจะทำงานเป็นระบบ และมีการจดบันทึกไว้ว่า บุคคลที่สามคนไหนมีปฏิกิริยาอย่างไร มีการรับสายหรือไม่รับสายเท่าไหร่ สามารถติดต่อช่องทางอื่น ๆ เพิ่มได้หรือไม่ และจะใช้บุคคลที่สามเหล่านี้ไปกดดันกับคนกู้ได้อย่างไร
และในกรณีที่ร้ายแรงที่สุดที่ได้เคยพบเห็น แอดมินเพจ Anti หมวกกันน็อค Online ยังระบุว่า ผู้เสียหายบางรายอาจโดนก๊อบปี้โทรศัพท์ ซึ่งมิจฉาชีพจะนำข้อมูลที่ได้จากโทรศัพท์ของเหยื่อมาโคลนเป็นโทรศัพท์อีกหนึ่งเครื่อง จากนั้นก็จะทำการควบคุมระบบทั้งหมดจากทางไกล ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงข้อมูล ลบข้อมูล และการแอบถ่ายเจ้าของโทรศัพท์ จากนั้นก็นำข้อมูลของเราไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมายต่อไป
ป้องกันและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งกู้เงินอย่างไร?
ควรป้องกันและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งกู้เงินอย่างไร?
เมื่อเห็นผลเสียที่ตามมา ทั้งกับตัวเองและคนรอบข้างขนาดนี้แล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพเข้าถึงตัวได้ นอกจากจะต้องตั้งสติและไม่คลิกลิงก์ของข้อมูลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินแบบสุ่มสี่สุ่มห้าแล้ว Thunderอยากขอให้ทุกคนได้ลองตรวจสอบข้อมูลของแหล่งเงินกู้อื่น ๆ เพิ่มเติม โดยอ้างอิงจากทางตำรวจกองปราบปราม และ เพจ Anti หมวกกันน็อค Online โดยทุกคนจะต้องสังเกตถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
หากได้รับ SMS จากเบอร์แปลก หรือบุคคลที่ไม่คุ้นชื่อมาก่อน อย่าคลิกลิงก์ หรือคลิกข้อมูลใด ๆ ที่มาพร้อมกับ SMS เด็ดขาด เพราะมีผู้เสียหายบางรายตกเป็นเหยื่อและโดนล้วงข้อมูลไปทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ดำเนินการขอกู้เงินเลย แต่ถ้าหากเป็น SMS จากสถาบันการเงิน หรือบริษัทกู้ที่เป็นกิจจะลักษณะ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูล และรายละเอียดได้ทันที และหากต้องการใช้บริการก็ควรไปดำเนินการที่สาขาเท่านั้น
เข้าเว็บไซต์ junkcall หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน whoscall และตั้งให้แจ้งเตือนไว้ โดยแอปพลิเคชันนี้จะทำการแจ้งว่าเบอร์แปลกที่โทรเข้ามานั้นเป็นเบอร์ของใคร มีการรายงานไว้หรือไม่ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ถูกมิจฉาชีพหลอกทางโทรศัพท์ได้ เพราะในบางกรณีมิจฉาชีพอาจทำการล้วงข้อมูลจากการรับโทรศัพท์ก็เป็นได้
หากเป็นแอปพลิเคชัน ต้องตรวจสอบให้ดีว่าภายในแอปฯ นั้นมีค่าธรรมเนียมดำเนินเอกสาร หรืออากรแสตมป์เพิ่มหรือไม่ อีกทั้งยังต้องดูให้ดีว่ามีอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
โดยส่วนใหญ่แล้ว แอปฯ กู้เงินมักจะขอเอกสารการเดินบัญชี Statement จากธนาคารที่มีชื่อ – สกุล และเลขบัญชี และสำเนาบัตรประชาชนที่ลงชื่อด้วยลายเซ็นเท่านั้น หากขอเอกสารอื่น ๆ เพิ่มเติม ต้องถามเจ้าหน้าที่ให้เคลียร์ว่าจะเอาไปทำอะไร และเช็กให้ดีว่า แต่ละขั้นตอนต้องใช้เอกสารใดบ้างเพื่อป้องกันการล้วงข้อมูล และการปลอมเอกสาร
หากเป็นการกู้เงินในไลน์ อย่าลืมเช็กเครื่องหมาย Line Official ให้ดี ซึ่งเครื่องหมายที่ถูกต้องจะเป็นโล่เขียวและโล่สีน้ำเงินบนพื้นหลังขาวเท่านั้น และอย่าหลงเชื่อจำนวนผู้ติดตามที่ขึ้นมาตอนแอดไลน์ เพราะข้อมูลเรื่องตัวเลขนี้สามารถทำขึ้นมาได้
แต่สำหรับใครที่ตกเป็นเหยื่อของแอปฯ หรือช่องทางกู้เงินเถื่อนต่าง ๆ เหล่านี้แล้ว สิ่งแรกที่ควรทำ คือ ตั้งสติ และรวบรวมหลักฐานเพื่อติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น หรือติดต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โทร. 1599 เพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป จากนั้นเมื่อปัญหาคลี่คลายแล้วก็อย่าวนเวียนกลับเข้าไปในการกู้เงินนอกระบบอีกเด็ดขาด เพราะนั่นเท่ากับว่าเรากำลังจะสร้างหนี้ที่อาจทำให้ปวดหัวตามมาแบบไม่รู้จักจบอีกก็เป็นได้
กลโกงจากการหลอกให้กู้เงินผ่านช่องทางออนไลน์
ดังนั้น หากใครที่ไม่อยากตกเป็นเหยื่อของแอปฯ กู้เงินเถื่อนเหล่านี้ Thunder จะพาไปเจาะลึกรายละเอียดของแอปฯ เถื่อน ที่หลอกให้เป็นหนี้ พร้อมแนะนำวิธีเช็กความน่าเชื่อถือของแหล่งกู้เงินเพื่อป้องกัน
ไม่อยากตกเป็นเหยื่อเสียเงินให้โจรต้องอ่าน! ยิ่งยุคนี้เศรษฐกิจฝืดเคืองเงินทองหายาก กว่าจะได้มาแต่ละบาทต้องเหนื่อยกายใช้น้ำพักน้ำแรงทำมาหากิน แต่จู่ๆ มิจฉาชีพที่ไหนก็ไม่รู้มาฉกเงินในกระเป๋าเราไปเสียดื้อๆ เจ็บใจยังไม่พอ ยังสร้างความเดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องกินต้องใช้ทุกวัน ระยะหลังๆ มานี้ มิจฉาชีพมาแบบแยบยลกว่าเดิม หลอกขโมยเงินเราโดยใช้ช่องทางออนไลน์ปลอมเป็นธนาคารต่างๆ บ้าง หน่วยงานหรือองค์กรที่น่าเชื่อถือบ้าง มีผู้ตกเป็นเหยื่อไม่น้อย และอย่าคิดว่าผู้ตกเป็นเหยื่อจะเป็นแค่กลุ่มผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีมากพอ หรือเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงนั้น คนที่มีความรู้เรื่องไอทีอย่างดี คนหนุ่มคนสาว ที่มีหน้าที่การงานดีๆ ก็ตกเป็นเหยื่อกันมาแล้ว โดยกลโกงที่เหล่ามิจฉาชีพที่ใช้หลอกให้โอนเงิน ผ่านทางการหลอกให้กู้เงิน มีดังนี้
- ประกาศปล่อยเงินกู้ผ่านทางเฟซบุ๊กหรือช่องทางอื่น ๆ โดยมักจะคิดดอกเบี้ยไม่สูงมากและมีคำโฆษณาชวนเชื่อเพื่อดึงดูดให้คนเข้ามากู้เงิน เช่น กู้เงินด่วนให้วงเงินสูง ดอกเบี้ยน้อย กู้ง่ายได้เงินเร็ว ไม่ต้องค้ำประกัน เป็นต้น
- เมื่อมีคนติดต่อไปมิจฉาชีพจะทำทีเป็นขอเอกสาร เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขออนุมัติเงินกู้ เช่น สำเนาบัตรประชาชน หน้าสมุดบัญชี และสำเนาทะเบียนบ้าน
- คนร้ายทำทีเป็นขอเวลาตรวจสอบก่อนจะแจ้งว่า “อนุมัติให้กู้” จากนั้นคนร้ายจะบอกให้ผู้กู้โอนเงินค่าดอกเบี้ยไปให้ก่อนในงวดแรก ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถดำเนินการให้กู้ได้ ในส่วนนี้คนร้ายอาจอ้างเป็นในส่วนของค่าดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ก่อนจะได้รับเงินก้อน เมื่อผู้กู้โอนค่าดอกเบี้ยไปคนร้ายก็จะหายเงียบไปพร้อมกับเงินนั้นที่ผู้เสียหายโอนไป
วิธีป้องกัน การตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพหลอกให้กู้เงิน
1. มีสติทุกครั้งเมื่อรับสายโทรศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย หรือหากมีการอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานใด ไม่แน่ใจ ให้รีบวางสาย แล้วติดต่อไปยังหน่วยงานที่อ้างถึง อ้างถึงใครให้สอบถามคนนั้น (ควรค้นหาเบอร์โทรติดต่อกลับเอง)
2. ไม่โลภ หากมีคนบอกว่าเราได้รับรางวัล หรือได้ส่วนลดพิเศษเกินจริง ควรเอะใจไว้ก่อนว่าเป็นไปได้หรือไม่
3. ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญ แม้ผู้ติดต่อจะอ้างว่าเป็นหน่วยงานราชการหรือสถาบันการเงิน
4. ติดตามข่าวสารกลโกงเป็นประจำ เพื่อรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกง
5. หากมีคนโอนเงินผิดบัญชีมาที่บัญชีเรา ไม่ควรโอนเงินคืนเองควรสอบถาม call center หรือสาขาของธนาคารที่เรามีบัญชีอยู่ให้ดําเนินการตรวจสอบรายละเอียด หากตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ธนาคารแล้วเป็นเงินที่โอนผิดบัญชีมาจริง ให้เรายินยอมให้ธนาคารดําเนินการโอนกลับไปยังบัญชีต้นทางต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้องกับกลโกงทางออนไลน์
- สลิปปลอม ดูยังไง ไม่ให้โดนโกงจากมิจฉาชีพ
- สลิปโอนเงินปลอม หยุดตกเป็นเหยื่อลูกค้าแกล้งโอน
- วิธีเช็คสลิปปลอม ด้วยเทคโนโลยี AI ผ่าน Line Official
- บอทเช็คสลิป ของ Thunder เหตุผลที่ร้านค้ายุคใหม่เลือกใช้
- ตรวจสลิปปลอม ผ่าน Line OA ด้วยตัวช่วยจาก Thunder
สรุป
นี่คือมุกที่แก๊งมิจฉาชีพคอลเซ็นเตอร์มักหลอกให้ผู้เคราะห์ร้ายโอนเงินไปให้ โดยใช้เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของคุณมาสร้างเรื่องราว เช่น โทรมาบอกว่ามีพัสดุตกค้าง ซึ่งหลายคนก็ตกหลุมพรางเพราะมัวแต่ตกใจ แล้วก็ไม่อยากเสียเวลาไปขึ้นโรงขึ้นศาลให้เสียเวลา เลยตัดสินใจโอนเงินไปให้มิจฉาชีพเพื่อจบปัญหาให้เร็วที่สุด สุดท้ายก็กลายเป็นเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ดังนั้น Thunder หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณรับมือกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกให้โอนเงินได้นะครับ!
บทความที่เกี่ยวข้อง
รวมวิธีการจดทะเบียน Vat สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่
ผู้ประกอบการมือใหม่ฟังทางนี้ มาดูขั้นตอนการจดทะเบียน Vat และบอกรายละเอียดต่าง ๆ ที่ต้องรู้ การจดภาษีมูลค่าเพิ่มใช้เอกสารอะไรบ้าง คุณสามารถหาคำตอบได้ที่นี่Read more
เรียนรู้เรื่องภาษีผู้ประกอบการ ต้องจ่ายภาษีอะไรบ้าง
เปิดคัมภีร์ผู้ประกอบการ 101 ภาษีผู้ประกอบการที่ต้องจ่าย มีอะไรบ้าง แนะนำคู่มือภาษีที่ทุกควรรู้ พร้อมแนวทางการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ประกอบการทุกคนRead more
เปิด 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ เพื่อเป็นนายตัวเอง
อยากเป็นเจ้านายตัวเอง (Self Employee) ทำไงดี? รวม 4 วิธีหาไอเดียทำธุรกิจ สำหรับคนอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เหมาะมากสำหรับนักลงทุนมือใหม่Read more