สลิปปลอม แจ้งความได้ไหม? ต้องทำอย่างไร โทษปลอมสลิป

สลิปปลอม แจ้งความ

สารบัญ

  • เจอสลิปปลอม ต้องทำอย่างไรต่อ?
  • ความผิดทางกฎหมายของสลิปปลอม
    • โทษ หรือกฎหมายเกี่ยวกับการปลอมสลิป
  • วิธีแจ้งความ เมื่อโดนหลอกให้โอนเงิน ต้องทำยังไง
    • แจ้งความที่เกิดเหตุโอนเงิน
    • แจ้งความออนไลน์
  • แจ้งความโดนหลอกโอนเงิน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
  • รู้ทันกลโกง สลิปปลอม

สลิปปลอม แจ้งความได้ไหม ต้องทำอย่างไร? โทษปลอมสลิปมีอะไรบ้าง

      ปัจจุบันนี้ร้านค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นมาก ความเสี่ยงในการซื้อของออนไลน์แล้วโดนโกงก็เลยมีเพิ่มมากขึ้นด้วย และอีกหนึ่งปัญหาที่เข้ามาพร้อม ๆ กับความสะดวกสบายจาก สังคมไร้เงินสด ในไทย ก็คือปัญหาเรื่อง ‘สลิปปลอม’ นี่แหละ! ไม่ปฏิเสธเลยว่า Cashless society ดีและสะดวกมากแค่ไหน แต่เราก็ไม่ควรมองข้ามปัญหาใหม่ที่ตามมา อย่างการโดนโกงสลิป จากลูกค้าที่ชอบส่งสลิปปลอม ซึ่งถ้าเจอบ่อย ๆ เข้า ก็บอกเลยว่า ยอดขายของร้านต้องหายไปจนสังเกตได้แน่นอน

แล้วแบบนี้ เหล่าผู้ประกอบการ เจ้าของร้านทั้งหลาย สามารถทำอะไรได้บ้าง? ฟ้องเลยได้ไหม?

เราขอบอกเลยว่าหากเจอสลิปปลอม สามารถแจ้งความได้เลย แต่จะฟ้องอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอะไร และโทษของการปลอมสลิปนั้นมีอะไรบ้าง และคนที่โดนโกงต้องทำอะไรบ้าง ก็ตามมาดูกันได้เลย!

เจอสลิปปลอม ต้องทำอย่างไร?

  • รวบรวมหลักฐาน
  • เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • ส่งเรื่องฟ้องร้อง พิจารณาโทษ

ความผิดทางกฎหมายของสลิปปลอม

               คดีจากสลิปปลอม หรือการโกงสลิปโอนเงิน จะจัดเป็นความผิดที่เข้าข่ายการปลอมแปลงเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญา ตามนี้

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264

ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน

โทษ หรือกฎหมายเกี่ยวกับการปลอมสลิป

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/1

ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับ หรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใด ๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง หรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงห้าปี และปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท

               นอกจากประมวลกฎหมายอาญาเบื้องต้น ที่สามารถเอาผิดผู้ที่ทำการปลอมแปลงเอกสารแล้ว ก็จะมีการพิจารณาโทษความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องได้ คือ มาตรา 268 โดยต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้ที่ทำเอกสารปลอมแปลงตามประเภทของเอกสารชนิดนั้น ๆ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับมาตรา 264 265 266 267

               สรุปได้ว่า คดีสลิปปลอม เป็นความผิดที่เข้าข่ายการปลอมแปลงเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญา 264 ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับวงเงินสูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

               ***แต่ถ้ามีการปลอมสลิปโอนเงิน หรือไปเข้าข่ายว่าเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเอกสารสิทธิ์ หรือเอกสารราชการ จะเข้าข่ายความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนถึง 5 ปี และถูกปรับ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท

วิธีแจ้งความ เมื่อโดนหลอกให้โอนเงิน ต้องทำยังไง

เมื่อลูกค้าถูกหลอกแล้วจะตกเป็น “ผู้เสียหาย” สามารถเข้าแจ้งความเอาผิดกับมิจฉาชีพได้ตามกฎหมาย แต่ต้องแจ้งความภายใน 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้กระทำความผิด โดยไปแจ้งความที่สถานีตำรวจท้องที่ที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เช่น สถานที่โอนเงิน ถ้าโอนเงินออนไลน์ที่บ้าน ก็แจ้งได้ที่สถานีตำรวจที่บ้านท่านตั้งอยู่ และวันนี้ทาง thunder อยากมาแนะนำวิธีการแจ้งความสลิปปลอม และหารเตรียมเอกสาร เพื่อประกอบการแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจค่ะ

 เมื่อโดนหลอกให้โอนเงินจะสามารถแจ้งความได้ 2 วิธี คือ

1. แจ้งความที่เกิดเหตุโอนเงิน

          โอนเงินที่ไหนให้เดินทางไปที่สถานีตำรวจในท้องที่ที่เกิดเหตุ โดยจะต้องแจ้งความประสงค์กับพนักงานสอบสวนว่า “ประสงค์ขอแจ้งความดำเนินคดีตามกฎหมาย” ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ขอลงบันทึกประจำวันเป็นหลักฐาน พร้อมทั้งให้ปากคำถึงรายละเอียดพฤติการณ์ในคดี

2. แจ้งความออนไลน์

          เข้าไปแจ้งความได้ที่ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์ thaipoliceonline.com โดยให้ลงทะเบียนกรอกข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคดี เช่น ชื่อ นามแฝง เลขบัตรประชาชน อีเมล หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขบัญชีธนาคารที่ใช้ในการทำธุรกรรม และช่องทางติดต่ออื่น ๆ อย่างเช่น LINE, Facebook, Instagram, Twitter ฯลฯ รวมทั้งหลักฐานการโอนเงิน และรูปแบบคำโฆษณาของมิจฉาชีพ

          โดยหลังจากเจ้าหน้าที่รับแจ้งความออนไลน์แล้วจะส่งเรื่องไปยังสถานีตำรวจที่ผู้แจ้งความสะดวกในการเดินทางไปแจ้งความ จากนั้นจะเริ่มสืบสวน โดยพนักงานสอบสวนจะโทร. นัดหมายเพื่อสอบปากคำ และดำเนินการต่าง ๆ ตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป

แจ้งความโดนหลอกโอนเงิน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องเตรียมในการแจ้งความ ได้แก่
  1. บัตรประชาชนของผู้เสียหาย
  2. หลักฐานการโอนเงิน เช่น สลิปโอนเงิน สำเนาสมุดบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย
  3. หลักฐานในการติดต่อ เช่น แคปหน้าจอข้อความ แชตที่พูดคุยกัน
  4. หน้าประกาศหรือข้อความโฆษณาของมิจฉาชีพที่ทำให้หลงเชื่อ
  5. ข้อมูลมิจฉาชีพ เช่น ชื่อ-สกุล, หมายเลขบัญชีธนาคารที่โอนเงินไปให้, หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ, ที่อยู่ เป็นต้น
  6. หลักฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี

*หมายเหตุ เอกสารตามข้อ 4 และ 5 ควรปรากฎ ที่อยู่ หรือ URL ของพ่อค้า-แม่ค้า โดยทำการถ่ายภาพ หรือแคปเจอร์ผ่านมือถือหรือคอมพิวเตอร์

รู้ทันกลโกง สลิปปลอม

     จะเห็นได้ว่า แม้คดีสลิปปลอมจะส่งฟ้องศาลได้จริง แต่ขั้นตอนก็มีความยุ่งยากพอตัว ยิ่งกับธุรกิจร้านอาหาร หรือคาเฟ่ที่แทบไม่มีสัญญาซื้อขายชัดเจน ก็ยิ่งยากที่จะได้ข้อมูลของมิจฉาชีพในคราบลูกค้า ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการทำได้ ก็คือการรู้ทันสลิปปลอมทั้งหลาย เพื่อป้องกันการโดนโกงล่วงหน้านั่นเอง!

               ผู้ประกอบการสามารถป้องกันตัวเองง่าย ๆ ได้จากการเก็บสลิปโอนเงินไว้เป็นส่วนตัว (ทั้งจากทางร้านไปร้าน Supplier หรือจากลูกค้าท่านอื่นมาที่ร้านค้า) ไม่โพสต์สลิปโอนเงินในพื้นที่สาธารณะ เพื่อป้องกันไม่ให้มิจฉาชีพนำข้อมูลในสลิปไปปลอมแปลง

               และอีกหนึ่งวิธี ก็คือการเลือกใช้เครื่องมือตรวจเช็กสลิปโอนเงิน อย่าง Thunder Solution เพื่อตรวจเช็กสลิปโอนเงินที่ได้อย่างรวดเร็ว หากเจอมิจฉาชีพที่ตั้งใจมาโกง ก็จะสามารถจับตัวได้ทัน โดย Thunder Solution นั้น สามารถใช้งานผ่านกลุ่มไลน์ได้แบบเรียลไทม์ เช็กสลิปโอนเงินได้อย่างละเอียด ทั้งชื่อ วันที่ เวลาโอน รวมถึงวงเงิน ว่าตรงกับข้อมูลในสลิปหรือไม่ ตรวจได้แม้กระทั่งว่า นี่เป็นสลิปที่ถูกใช้ซ้ำหรือเปล่า เรียกได้ว่าสะดวก และช่วยลดภาระให้กับร้านค้าและพนักงานได้แน่นอน

แท็ก:

หมวดหมู่: ข่าวสาร, บทความ

บทความที่เกี่ยวข้อง